(อาจารย์เชาวนี) โอเค สวัสดีค่ะ ได้ยินเสียงพี่ไหมคะ ได้ยินชัดนะ เด็ก ๆ สวัสดีพี่ล่ามหน่อยค่ะ คุยอะไรกัน 2 คนนั้น มองนะคะ วันนี้นะคะ นักเรียน ม.4 ห้องนี้นี่ มีเพื่อนกลับคืนมาแล้ว หลังจากสัปดาห์ที่แล้วสอนไปนิดเดียวนะคะ คนน้อยมาก ครูอยากให้นักกีฬานะคะ อยากให้นักกีฬาที่ไปนี่ ตั้งใจเรียนนะวันนี้ เดี๋ยวครูจะมีกิจกรรมให้ทำนะคะ แล้วก็จะมีการทดสอบด้วยนะคะ มันเป็นเรื่องใหม่ที่นักเรียนจะต้องได้เรียนแล้วต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเรานะคะ นั่นก็คือเรื่องตรรกศาสาตร์ ตรรกศาสตร์เป็นเรื่องของการว่าด้วยเหตุและผลนะคะ ทำไมมันถึงสำคัญกับเรา เพราะว่าในชีวิตของเรานี่ ถ้าเราอยู่โดยไม่มีเหตุไม่มีผลนี่ มันก็จะไม่มีหาข้อยุติหาข้อสรุปในความถูกต้องไม่ได้ ถูกไหมคะ อย่างเช่น ตอนนี้ที่สำคัญมากเลย เรื่องนี้น่ะถูกนำไปใช้ในอะไร การค้นหาความจริงลูก อย่างเช่นเวลาเรามีคดีนะคะ ตำรวจสอบ... มีเหตุเกิดขึ้นนี่ มีผู้ร้าย ใช่ไหม พอมีผู้ร้ายเสร็จปุ๊บ เขาจะหาความจริงว่าคนนี้ทำผิดจริงหรือเปล่านะคะ เขาทำผิดจริงหรือเปล่านะ มันก็ต้องไปหาข้อเท็จจริง อันไหนที่จริง อันไหนที่ไม่จริงนะคะ เสร็จแล้ว นำเรื่องตรรกศาสตร์นี่แหละค่ะ มาวิเคราะห์ว่ามันน่าเชื่อถือหรือเปล่า เหมือนกับเราเหมือนกัน เวลาเราอยู่ในสังคมในโรงเรียนใช่ไหมลูก เราเป็นพี่แล้ว พี่หอนอนใช่ไหมคะ พอมีน้องทำผิด เราก็ต้องไปสอบถามหาความจริงใช่ไหม คนไหนทำผิด ผิดจริงหรือเปล่า จะต้องเอาเรื่องต่าง ๆ นี้ เอามารวมกัน แล้วไปหาข้อสรุปนะคะ ว่าที่น้องเขาทำนี่ มันผิดหรือมันถูกนะคะ อันนี้คือพื้นฐานของความถูกต้อง การมีเหตุผลนี่จะถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากเลยนะคะ ก่อนอื่นเลย คำที่เราจะได้ยินประจำนะคะ สำหรับในเรื่องของตรรกศาสตร์ ก็คือ ประพจน์ ประพจน์คำนี้มันหมายถึงอะไรลูก ประพจน์ตัวนี้ เพื่อนที่เรียนไปแล้วจำได้ไหมคะ สัปดาห์ก่อน ประพจน์ ประพจน์ก็คือประโยคนะคะ หรือว่าข้อความใช่ไหม ประโยคหรือว่าข้อความก็ได้ ต้องเป็นประโยคบอกเล่านะคะ หรือว่าประโยคปฏิเสธ ที่มีค่าความจริงเป็นจริงหรือเป็นเท็จนะคะ มันจะต้องเป็นประโยคนะ หรือว่าเป็นข้อความก็ได้ มีอยู่ 2 ประโยคนี้นะคะ ที่จะเป็นประพจน์นะ ดูนะ ทีนี้ ชนิดของประโยคก็มีเยอะเหมือนกันนะลูก ครูแยกออกมาให้ที่เป็นประพจน์นะคะ ประโยคไหนที่จะเป็นประพจน์ ก็คือประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ นี่สีแดง ถ้าดู 2 ประโยคนี้ปุ๊บ คิดเลยว่าจะต้องเป็นประพจน์แน่นอนนะคะ มันจะต้องเป็นประพจน์แน่นอน ถ้าเป็นประพจน์ปุ๊บ เอาไปหาความจริงได้ เอาไปหาค่าความจริงได้นะคะ แล้วถ้าไม่เป็นประพจน์ล่ะ ถ้าไม่เป็นประพจน์ ลูกดูประโยคหรือว่าข้อความนั้นนะคะ ประโยคคำสั่งต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้นะคะ คำสั่ง อันนี้คือไม่เป็นประพจน์แล้ว หรือว่าประโยคขอร้อง ประโยคขอร้อง ช่วยฉันหน่อย ช่วยทำอันนี้หน่อย กรุณา ขอร้องนะคะ และประโยคคำถาม วันนี้กินข้าวหรือยัง เธอชอบสีอะไร นี่ เป็นประโยคคำถามนะคะ ไม่เป็นประพจน์ เพราะอะไร เพราะหาค่าความจริงไม่ได้นะคะ ไม่มีค่าความจริง หรือว่าประโยคอุทาน อุ๊ย ตายแล้ว คุณพระช่วย นี่ เป็นประโยคอุทานที่เราตกใจหรือว่าเห็นแล้วแบบดีใจมาก ๆ ตะโกนออกมานะคะ ก็คือเป็นประโยคอุทานซึ่งประโยคต่าง ๆ นอกเหนือจากบอกเล่ากับปฏิเสธ ไม่เป็นประพจน์นะคะ ทีนี้ดูนะ สรุปประพจน์นะคะ ครูดูให้แล้ว ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธนะลูก มันจะมีค่าความจริงเป็น 2 อย่าง ก็คือค่าความจริงกับเป็นเท็จ เป็นจริงกับเป็นเท็จ เมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นประโยคบอกเล่า แล้วก็ประโยคปฏิเสธ มีค่าความจริง อันนี้คือประพจน์นะคะ สุดท้ายเลย คือ ประพจน์ แล้วก็ประโยคต่าง ๆ อื่น ๆ นะคะ หาค่าความจริง ก็คือตอบไม่ได้ ไม่มีค่าความจริง ก็คือตอบไม่ได้นะคะ ไม่เป็นประพจน์นะคะ วันนี้นะคะ ครูจะให้นักเรียนดูประโยคต่อไปนี้นะคะ ที่ครูติดบนกระดาน เสร็จแล้วนักเรียน ครูจะแจกประโยคให้นักเรียนทุกคนนะคะ คนละ 2 ประโยค เสร็จแล้วให้นักเรียนดูว่า ประโยคที่ครูแจกให้นักเรียนของแต่ละคนนั้น เป็นประโยคประเภทไหน ชนิดไหนนะคะ ดูนะ เจ๊กช่วยไปหยิบประโยค เอาไปแจกเพื่อนคนละ 2 ประโยคลูก ให้เพื่อนเลือกได้เลยว่าจะเอาอันไหน คนละ 2 ค่ะ แจกให้เลย เหลือไหม เหลืออีก 2 นะคะ เพื่อนยังไม่มาอีก 1 คน ไม่เป็นไรนะคะ ครูปิ๊กเล่นด้วย ครูปิ๊กเล่นด้วย นักเรียน ดูพี่ล่ามก่อนนะ นักเรียนดูพี่ล่ามนะคะ ทุกคนจะมีประโยคอยู่ในมือ 2 ประโยค ที่ครูปิ๊กแจกให้ ทีนี้ดูนะว่าประโยคแต่ละประโยคที่นักเรียนได้นี่ มันจะต่างกัน ดู แล้วก็แยกประเภทนะคะ ชนิดของประโยค ที่ครูเขียนไว้บนกระดาน อันไหนของตัวเอง นักเรียนจะต้องรู้ว่าประโยคของตัวเองที่นักเรียนจับได้นี่ มันคือประโยคอะไรนะคะ แล้วให้ออกมาเขียนบนกระดานนะ เสร็จแล้วเราจะมาหาค่าความจริงของประโยคด้วยกันนะคะ ก่อนที่จะไปสรุปว่ามันเป็นประพจน์หรือว่าไม่เป็นประพจน์นะ อันแรกใครได้เอ่ย นี่ ข้อแรกใครได้ยกมือขึ้น ดู อย่าเพิ่ง ดูพี่ล่ามด้วย แล้วดูบนจอลูก อันนี้ใครได้ ประโยคนี้ คือ 1 สัปดาห์ มี 7 วัน 1 สัปดาห์ มี 7 วัน มันเป็นประโยคอะไรคะ ประโยคบอกเล่าหรือเปล่า มันเล่ามันบอกหรือเปล่า หรือว่าเป็นประโยคปฏิเสธ เป็นประโยคอะไรลูก เป็นประโยคอะไรครูปิ๊กถาม... อะไรนะ ใช่ ๆ อันนี้คือข้อความ 1 สัปดาห์ มี 7 วัน มันเป็นประโยคอะไร ถามก็คือมันเป็นประโยคอะไร ประโยคคำถามเหรอ ไม่ใช่นะคะ มันไม่ใช่ประโยคคำถาม มันเป็นประโยคบอกเล่า มันเป็นบอกเล่านะคะ มันเป็นชนิดบอกเล่า ชนิดที่ 1 นะคะ ประโยคบอกเล่า ลูกต้องจำด้วยนะ ต้องจำด้วยนะ ว่าประโยคของตัวเองเป็นประโยคบอกเล่า ก็คือตัวนี้นะคะ บนกระดานนี่ลูก บนกระดานที่ครูเขียนประโยคเอาไว้ ประโยคบอกเล่า อันนี้นะ อย่าเพิ่งออกมา อย่าเพิ่งออกมา ให้จำเอาไว้ว่าของตัวเองนะคะ อยู่ตรงไหน ประโยคบอกเล่านะคะ 1 สัปดาห์มี 7 วัน เป็นประโยคบอกเล่า อันที่ 2 ช่วยปิดประตูด้วย ประโยคนี้ใครคะ ใครได้ลูก ใครได้ ประโยคนี้ ยกมือขึ้น ใครได้ ดูนะ ช่วยปิดประตูด้วย เป็นประโยคอะไร คำว่า "ช่วย" นะลูก ต้องเป็นประโยคอะไรคะ ประโยคอะไร บอกเล่าไหม บอกเล่าถูกไหม บอกเล่าไหม คำว่า "ช่วย" นะคะ หรือว่าประโยคปฏิเสธ ถ้าประโยคปฏิเสธ มันจะต้องมีคำว่า "ไม่" อยู่ด้วยนะคะ แต่อันนี้มันไม่มีนะคะ ประโยคขอร้อง ขอร้อง คำว่า "ช่วย" นี่ คือการขอร้องนะคะ คือการขอร้อง เพราะฉะนั้น ช่วยปิดประตูด้วย เป็นประโยคอะไร อยู่ไหน ๆ ๆ เป็นประโยคขอร้องนะคะ คือ ขอให้ช่วย คือ ประโยคขอร้อง ตอนนี้มีประโยคทั้งหมด 6 ชนิดที่ครูเขียนบนกระดานนะคะ นักเรียนสังเกตแล้วก็ดูของตัวเองนะ อันนี้ ต่อมาข้อที่ 3 ใครได้ พันพันดูนะ ไปเดินเล่นกันไหม ไปเดินเล่นกันไหม มันเป็นคำถาม ดูสินะ มันเป็นคำถามไหม เธอจะไปกับฉันไหมน่ะ ไปเดินเล่นน่ะ เป็นการถามเพื่อนถูกไหมคะ เป็นการถาม เพราะฉะนั้น อันนี้เป็นประโยคคำถาม ถูกต้อง คือ ประโยคคำถาม ถามเขาไปว่า ไปเดินเล่นกันไหม เป็นประโยคคำถาม ต่อมา ใครได้ข้อนี้ ข้อ 4 ลูก 1 + 2 + 3 + 4 = 10 ใครได้ ข้อนี้เป็นประโยคบอกเล่านะคะ เป็นประโยคบอกเล่า ที่บอกว่าฝั่งซ้ายมือนี่ 1 2 3 4 เอามารวมกัน มันเท่ากับ 10 นะ โอเคไหม เป็นประโยคบอกเล่านะลูกนะ ตัวนี้ จำได้ไหมคะ สัญลักษณ์นี้ เรื่องของเซตที่เราเรียนมาตั้งแต่เริ่มเปิดเทอม เขาบอกว่า 3 เป็นสมาชิก อันนี้ของใครนี่ดู 3 เป็นสมาชิกของเซต {1, 2, 3} ถูกหรือเปล่า มันเป็นประโยคบอกเล่า ทีนี้มาดูว่ามันถูกหรือมันผิดลูก มันใช่ไหม มี 3 อยู่ไหนเซตนี้ไหม มีไหมลูก มี 3 อยู่ในเซตนี้ไหม มีไหม พบไหม มีไหม มีนะคะ เห็นไหม 3 มันอยู่ข้างในเซต 3 มันเป็นสมาชิกของเซตนี้นะคะ อันนี้ค่าความจริงมันก็จะกลายเป็นจริง ประโยคนี้เป็นประโยคบอกเล่านะลูกนะ ประโยคบอกเล่า จำให้ได้นะ ว่าประโยคของตัวเองนั้นเป็นประโยคประเภทไหนชนิดไหนนะคะ อันนี้ใคร ประโยคต่อมาใครคะ โอเค เขาบอกว่าอะไร คำแรกขึ้นมาเลย เขาบอกว่าอะไร ถูกต้อง ห้ามกินขนมในห้องเรียน ประโยคอะไรลูก “ห้าม” เป็นประโยคคำสั่ง ใช่ไหม ห้ามเลย เด็ดขาดเลย ห้าม ไม่ได้ เป็นประโยคคำสั่ง คืออยู่ในนี้ เป็นประโยคคำสั่งบอกว่าไม่ให้กินนะคะ ห้ามกินขนมในห้องเรียน โอเคนะ อันนี้คือประโยคคำสั่ง ประโยคต่อมาใครได้ยกมือขึ้น ไออุ่นนะคะ ไออุ่นอันนี้คืออะไรลูก เขาบอกอะไร ประโยคนี้ เขาแปลว่าอะไร แปลว่าอะไร ใช่ ไก่ มี 4 ขา ใช่ ไก่มี 4 ขา เป็นประโยคอะไรคะ เป็นประโยคอะไรลูก เป็นการเล่าใช่ไหม เป็นการเล่า ถูกต้องนะคะ เป็นการเล่า เยี่ยม อันนี้ใคร ใครได้ข้อนี้ ไออุ่น... ทำไมไม่สลับเลย เรียงข้อเลย โอเคดีมาก เหมือนกันเลย ลักษณะเดียวกันกับข้อนี้นะคะ เป็นประโยคบอกเล่าเหมือนกัน ประโยคบอกเล่าเหมือนกัน แต่ค่าความจริงมาดูอีกทีหนึ่ง ว่ามันเป็นจริงหรือเป็นเท็จนะลูกนะ อันนี้เขาบอกว่า 8 นี่ เป็นสมาชิกของเซต 1 2 3 ใช่หรือเปล่านะคะ เป็นประโยคบอกเล่า แต่ว่ามันจริงหรือเปล่าหรือมันเท็จ เดี๋ยวดูต่อไป อันนี้คือประโยคบอกเล่า อยู่ตำแหน่งไหน ใช่ ประโยคบอกเล่านะคะ ประโยคนี้ครูปิ๊กได้เอง อุ๊ย ตายแล้ว อุ๊ย ตายแล้ว" เป็นประโยคอุทานนะคะ อันนี้อุทานเลย อุทานแน่นอนนะคะ ต่อมาประโยคนี้ครูปิ๊กก็ได้อีก เขาบอกว่า ครูปิ๊กไม่ชอบกินผัก อันนี้เป็นการเล่านะคะ เป็นการเล่า ครูปิ๊กนี่ไม่ชอบกินผัก ก็เป็นประโยคบอก… เอ้ย ประโยคปฏิเสธเพราะอะไร มีคำว่าอะไรคะ มีคำว่า "ไม่" เห็นไหม มันมีคำว่า "ไม่" นี่เป็นประโยคปฎิเสธนะคะ ไม่ ไม่ชอบเลย ประโยคปฏิเสธอยู่ไหน อยู่นี่นะคะ อันนี้คือประโยคปฏิเสธ ก็จะอยู่ใน... ครูปิ๊กก็จะเอามาวางไว้อยู่ตรงนี้ ในบนกระดานนะคะ โอเคนะ เสร็จแล้ว ใครได้ลูก เจ๊ก อันนี้แปลว่าอะไร นี่ ประโยคนี้แปลว่าอะไร ถูกต้อง เป็นประโยคคำถาม เก่งมาก เธอรักฉันหรือเปล่า ถามเขาไปใช่ไหม เขาก็จะตอบเลยว่า ไม่รักหรอก อันนี้คือประโยคคำถามแน่นอน อยู่ตรงไหนลูก รู้นะ เป็นประโยคคำถาม ข้อนี้ล่ะของใคร ประโยคนี้ของใครได้ เจ๊กเหมือนเดิม อันนี้ก็เป็นประโยคอะไรลูก เป็นประโยคบอกเล่า เป็นประโยคบอกเล่านะคะ เขาให้หาว่า 2 - 2 + 2 = 0 จริงหรือเปล่า ค่าความจริง ดูอีกทีหนึ่ง แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มันเป็นแบบนี้นะคะ มีอยู่ 2 ฝั่ง ถ้าเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์นะมีอยู่ 2 ฝั่ง ใส่สมการแบบนี้ ถ้าไม่มีตัวแปร ไม่มีค่าตัวแปร แสดงว่ามันเป็นประโยคบอกเล่านะคะ อะไร ประโยคนี้ฮานอย ประโยคบอกเล่า เก่ง ๆ ๆ อันนี้ก็คือธงชาติไทยมี 3 สีลูก เป็นประโยคบอกเล่านะคะ ใครได้ อะไร คำสั่ง ห้าม ห้ามเลย เป็นประโยคคำสั่ง ห้ามเดินผ่านสนามหญ้า เยี่ยม เป็นประโยคคำสั่งนะคะ อ่านประโยคแล้ว อ่านเข้าใจนะลูก ดีมาก อันนี้คือคำว่า ช่วยปิดเสียงโทรศัพท์ด้วย อันนี้ประโยคอะไร คำว่า "ช่วย" ประโยคอะไร ประโยคขอร้อง เยี่ยมมาก สุดท้ายใครได้ ได้ติดกันเลย ช้างมี 3 ขา อันนี้เป็นประโยคอะไร ถูกต้องนะคะ เก่งมาก มันเป็นประโยคบอกเล่า แต่เราไม่รู้ว่ามันจะมีค่าความจริงเป็นอะไรนะคะ ทีนี้ ให้ลูกออกมาติดประโยคนะคะ ของตัวเองบนกระดานนะคะ ติดให้อยู่ในประเภทของประโยคให้ถูกต้อง เดี๋ยวเรามาเช็กกันอีกทีหนึ่งนะคะ ว่าเพื่อนติดถูกหรือเปล่า ออกมาเลยค่ะ เจ๊กออกมาก่อนลูก ออกมาเป็นคนเลย เอาประโยคมาติดกระดาน ที่เขียนแล้ว ฮานอยออกมาต่อ ออกมาเลยลูก ดูนะว่าเพื่อนที่ไปแข่งกีฬาจะเข้าใจไหมนะ จะติดถูกหรือเปล่า ช่วยปิดประตูด้วย เพื่อนช่วยเพื่อนหน่อย อันนี้อะไรลูก เดี๋ยวเรามาช่วยกันตรวจนะคะ ว่าติดกันถูกหรือเปล่า ครูมองนะ กลุ่มที่เราจัดนะคะ เริ่มประโยคบอกเล่าก่อนนะ เริ่มประโยคบอกเล่าก่อน มีทั้งหมดที่เพื่อนเอามาติด มีอยู่ 9 ประโยคด้วยกัน ประโยคแรก 3 เป็นสมาชิกของ 1 2 3 ของเซต 1 2 3 อันนี้ถูกนะคะ เป็นประโยคบอกเล่า อันนี้ใครเป็นคนติดยกมือขึ้น ใครเป็นคนติดลูกอันนี้ ติดถูกนะคะ ติดถูกนะคะ ข้อนี้ ประโยคต่อมา 1 สัปดาห์มี 7 วัน อันนี้ก็อยู่ถูกนะคะ ถูกที่เลย ช้างมี 3 ขา ประโยคบอกเล่าเหมือนกัน 2 - 2 + 2 = 0 ประโยคบอกเล่า ถูกต้อง ธงชาติไทยมี 3 สี อันนี้ก็ประโยคบอกเล่านะคะ ไก่มี 4 ขา อันนี้ก็เป็นประโยคบอกเล่า 8 เป็นสมาชิกของเซต 1 2 3 เป็นประโยคบอกเล่า ถูกต้อง อันนี้ของใครเอ่ย ไปเดินเล่นกันไหม ไปเดินเล่นกันไหม เป็นประโยคอะไรลูก บอกเล่าเหรอ ไม่ใช่นะ มันเป็นอะไรคะ เพื่อน ๆ ช่วยหน่อย เป็นประโยคอะไร เพื่อนตอบสิ ใช่ เป็นคำถาม เป็นคำถาม เอามาเปลี่ยนใหม่เลย เอาไปสลับที่ประโยคคำถามอยู่ไหนะคะ ออกไป หยิบไปใส่ตรงประโยคคำถามได้ เชิญค่ะ อีกข้อหนึ่ง ถูกนะคะ ที่บอกว่าเป็นประโยคบอกเล่า 2 + 3... 1 + 2 + 3 + 4 = 10 นะคะ เป็นประโยคบอกเล่า มีสลับอยู่คนเดียวนะคะ ไปเดินเล่นกันไหม เป็นคำถาม เป็นคำถาม อยู่ไหน ประโยคคำถาม อยู่ไหน ถูกต้อง เยี่ยมมาก ประโยคปฏิเสธนะคะ มีอยู่อันเดียว คือ ครูปิ๊กไม่ชอบกินผัก อันนี้ ถูกต้องนะคะ เป็นเอาประโยคมาใช้ได้ถูกต้องนะคะ มาวางจัดกลุ่มได้ ทีนี้ประโยคขอร้อง ที่มามีอยู่ 2 ประโยคนะคะ ของใครก็ไม่รู้แหละ เขาบอกว่า ช่วยปิดโทรศัพท์ ช่วยปิดเสียงโทรศัพท์ด้วย กับช่วยปิดประตูด้วย อันนี้เป็นประโยคขอร้องนะคะ ขอให้ทำ ถูกต้องนะคะ ดีมาก ข้อนี้ถูกนะคะ ไม่มีสลับเลย ทีนี้ประโยคคำถาม ประโยคคำถามเธอรักฉันหรือเปล่า เธอรักฉันรือเปล่า เป็นคำถามนะคะ ไปเดินเล่นกันไหม นี่ เป็นการชวนคำถามนะคะ 2 ประโยคนี้ ประโยคคำสั่ง มีอยู่ 2 ประโยคนะคะ ห้ามเดินผ่านสนามหญ้า “ห้าม” มีคำว่าห้ามนะคะ แล้วก็ห้ามกินขนมในห้องเรียน นี่ ประโยคคำสั่ง สั่งเลย ถ้าสมมติว่าเราไปกินขนมในห้องเรียน มันก็จะมีกฎ มีบทลงโทษใช่ไหมคะ อันนี้ คือการห้าม ประโยคคำสั่งนะคะ ประโยคอุทาน อุ๊ย ตายแล้ว มีอยู่คำเดียว มีอยู่ประโยคเดียวเอง ทั้งหมดเก่งมากเลยนะคะ ที่ติดประโยคได้ถูกต้อง ทีนี้ ครูถามว่า ประโยคที่เป็นประพจน์ เราจะเลือกตัวไหนลูก เฉพาะอะไรคะ มีอยู่ 2 ประโยคเท่านั้น คือ ประโยคบอกเล่ากับประโยคปฏิเสธ กลุ่มนี้ กลุ่มนี้เป็นประพจน์หมดเลย ซีกนี้ทั้งซีกเลย เอาออก ไม่ใช่ประพจน์แน่นอน นี่ นี่นะ ประโยคขอร้อง ประโยคคำสั่ง ประโยคคำถาม ประโยคอุทาน ซีกนี้ ฝั่งด้านซ้ายมือไม่เป็นประพจน์แน่นอนนะคะ เพราะมันไม่ใช่ประโยคบอกเล่า แล้วก็ไม่ใช่ประโยคปฏิเสธด้วย มีกี่ประโยคคะ ที่ยังเหลืออยู่ มีอยู่ 7 ประโยคนะคะ ที่ยังเหลืออยู่ โอเคนะ มีอยู่ 7 ประโยคลูก มีอยู่ 7 ประโยคนี่ ก็คือประโยคบอกเล่ากับประโยคขอร้อง ทีนี้ ครูจะแจกกระดาษให้นักเรียนนะคะ ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มนะ คนละ กลุ่มหนึ่ง 3 กลุ่มหนึ่ง 4 แล้วกันลูก เดี๋ยวเอาเก้าอี้เข้าหากันนะคะ เอาโต๊ะเก้าอี้จัดเข้าหากัน ทำงานเป็นกลุ่ม ซีกนี้เป็น 3 คน 3 คน เดี๋ยวรอเพื่อน ถ้าเพื่อนมานะคะ ก็รวมเป็น 4 เลย ครูจะแจกกระดาษให้นะคะ พร้อมกับตัวนี้นะ พร้อมกับตัวนี้ ประโยคตัวนี้ ให้นักเรียนตัดแปะนะคะ คำประโยคพวกนี้น่ะ ใส่ในกรอบให้ถูกต้อง เข้าใจนะ ถ้าทำถูกแล้วนะคะ ถ้าทำถูกแล้ว ตัดประโยคเสร็จปุ๊บ ตัดแปะเรียบร้อยนะคะ ให้มาดูอย่างนี้ ทีนี้ อันไหนที่เป็นประโยคบอกเล่า ดูตัวอย่างในกระดานนะ บอกเล่ามีอยู่ 8 ประโยคลูก 8 ประโยคที่ลูกเลือกออกมา หาค่าความจริง ค่าความจริงมีอยู่ 2 ค่าถูกไหม คือ เป็นจริงกับเป็นเท็จนะคะ เป็นจริงกับเป็นเท็จ ดูว่าประโยคนี้ เป็นจริงหรือเปล่า 3 เป็นสมาชิกของเซต {1, 2, 3} ไหม 3 มันอยู่ แสดงว่าเป็นจริงถูกไหม เป็นจริง เพราะฉะนั้น ตรงนี้ ก็จะใส่ตรงนี้นะคะ เหลี่ยมตรงนี้ให้ใส่ค่าความจริง ฝั่งด้านนี้ให้ใส่ประโยคนะคะ ให้เขียนประโยคลงไป แต่จะต้องเป็นประโยคบอกเล่านะลูก พวกนี้ลูกเขียนลงไป เข้าใจไหม เอาใหม่ ดูพี่ล่ามนะ ดูพี่ล่ามนะ ครูจะแจกกระดาษให้ลูก ครูจะแจกกระดาษให้ พร้อมกับประโยค ให้ลูกไปตัดประโยคนั้นนะคะ ไปตัดประโยคนั้น เอาไปติดให้ตรงกับช่องของชนิดประโยค ให้ตรงกัน ให้ตรงกันนะคะ พอติดเสร็จแล้วปุ๊บ เลือกเอาเฉพาะ 2 ประโยคนะคะ ก็คือประโยคบอกเล่ากับประโยคปฏิเสธมาเขียน เอาประโยคมาเขียนลงในช่องนี้ ที่เป็นกรอบแบบนี้ เป็นค่าความจริงเขียนลงไป ประโยคนี้ มีค่าความจริงเป็นอะไร เป็นจริงหรือเป็นเท็จ แค่นั้นเอง งานนี้ครูจะให้ทำเป็นกลุ่มครูไม่ให้ทำเดี่ยว โอเคไหม โอเคนะลูก เดี๋ยวจัดโต๊ะใหม่ หันเข้าหากันนะคะ 4 คนนี้ หันเข้ามา กลุ่มละ 4 กลุ่มละ 4 มา ลูกคะ มองนะ ทีนี้เราจะเรียนเรื่องตัวเชื่อมนะคะ การเชื่อมประพจน์ เมื่อกี้ เราดูแล้วว่าข้อความประโยคไหนที่มันเป็นประพจน์ใช่ไหมคะ ทีนี้เราจะมาเรียนเรื่องการเชื่อมประพจน์เข้าด้วยกัน การเชื่อมประพจน์เข้าด้วยกัน มันหมายถึงจะต้อง แน่นอนล่ะมันจะต้องมีอยู่ 2 ประพจน์ขึ้นไปใช่ไหมคะ มีอยู่ 2 ประพจน์ขึ้นไป เขาก็เลยให้ว่าสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์นะคะ ประพจน์แรกให้เป็นตัว p นะลูก นี่ คือประพจน์ตัวที่ 1 นะคะ ประพจน์ตัวที่ 2 ที่จะเอามาเชื่อมคือตัว q อันนี้คือตัว q สัญลักษณ์ตัวนี้ คือ แทนประพจน์นะคะ ประพจน์เราเรียนไปแล้วนะ ก็คือประโยคใช่ไหมคะ ที่มีค่าความจริงเป็นจริงหรือเป็นเท็จก็ได้ ทีนี้ การจะเชื่อมประโยคนะคะ การจะเชื่อมประพจน์เข้าหากัน 2 ประพจน์นี่ ดูนะ ค่าความจริงมันมีแค่ 2 ค่าเท่านั้น ถูกไหมคะ มีค่า T กับค่า F คือเป็นจริงกับเป็นเท็จ ประโยคแรกเป็นจริงกับเป็นเท็จ ถ้าเมื่อไหร่ที่ไปจับคูกันกับประพจน์นะคะ ตัวที่ 2 ปุ๊บนะลูก ประพจน์ตัวที่ 2 ก็มีค่าความจริงเป็นจริงกับเป็นเท็จ ถูกไหม เวลามันจับคู่กัน เรื่องอันนี้ เรื่องความน่าจะเป็นนะคะ เรื่องโอกาสที่จะเกิดขึ้น เดี๋ยวเราจะเรียนต่อไปในเทอม 1 เอ้ย เทอม 2 นะคะ ของ ม.4 นะ ตัวนี้ เวลาเราจับคู่กัน ประโยคแรกเป็นจริง ประโยคที่ 2 เป็นจริงนะคะ ตารางค่าความจริงมันก็เลยวิ่งมาหาตรงนี้ ลูกดูนะ ตัวข้างหน้า ตัว p เป็นจริง ข้างหลังก็เป็นจริงเหมือนกันนะคะ ในตารางให้วิ่งมาเลยนะคะ ตัวนี้ ฟื้บมา จับคู่กันมา มาหาตรงนี้ในตาราง จริงกับจริงนะคะ อันนี้คือค่าความจริงของตาราง เวลาเราเอาประพจน์มานะคะ ทีนี้ ตัวนี้ล่ะ ถ้า p เป็นจริง q เป็นเท็จนะคะ โยงมาเลยนะ ตรงนี้ มาใส่ตารางช่องนี้ เป็นจริงแล้วก็เป็นเท็จนะคะ ค่าที่มันจะเกิดขึ้นได้ โอกาสที่มันจะเกิดขึ้นได้มันมีอยู่แค่นี้นะคะ ทีนี้ถ้าเป็นประพจน์ตัวแรกเป็นเท็จล่ะ ประพจน์ตัวที่ 2 มันจะจับคู่กัน เท็จมาวิ่งมาหาจริง เห็นไหมคะ เท็จแล้วก็จริง อันสุดท้าย คู่ที่ 4 นะคะ เมื่อประพจน์ตัว p แรกนะคะ ตัว p นี่ ประพนจ์แรกนี่เป็นเท็จกับเท็จ มันก็จะออกมาเป็นตารางแบบนี้ มันมีกี่คู่ มีอยู่ 4 ด้วยกัน จริงจริง จริงเท็จนะคะ เท็จแล้วจริง เท็จแล้วก็เท็จ อันนี้คือค่าความจริงที่มันจะเกิดขึ้น โอเคนะ วิธีการหาค่าตรงนี้ง่ายมาก แค่ลูกจับคู่นะคะ นี่ ที่โยงเส้นนี่ ข้างหน้ามีอยู่ 2 ตัวนะคะ ตัวข้างหลังมันก็เกิด 2 ตัวเหมือนกัน แต่เมื่อไหร่ที่มันมาจับคู่กันน่ะ มันก็เกิดออกมาเป็น แตกออกมาเป็นแบบนี้ เป็นแผนภูมิต้นไม้นะคะ เหมือนเป็นแตกกิ่งออกมานะ ตัว T ตรงนี้ ฟึ้บมาใส่ตาราง T เหมือนกัน จับคู่ตัวนี้ TF มาใส่ตรงนี้นะคะ F F มาข้างหน้าบ้าง FT FF เข้าใจนะ ถามไหมคะ ถามไหม เข้าใจ ทีนี้มาดูคำเชื่อมลูก คำเชื่อมมันมีอยู่ 5 ตัว ตัวเชื่อมนะคะ มีทั้งคำภาษาไทยและมีคำเชื่อมทางคณิตศาสตร์นะคะ วิธีการเชื่อมมีอะไรบ้าง มีอยู่ 5 ตัว คำเชื่อมคำแรกคืออะไรคะ “และ” นี่ “และ” “และ” เมื่อไหร่ก็ตามที่เห็นคำนี้ “และ” ปุ๊บนี่ สัญลักษณ์ คือ ตัวนี้ลูก เหมือนตัว V คว่ำนี่ ถ่างอยู่ เหมือนหมวกน่ะ ใส่หมวก นี่เห็นไหม ถ้าทางคณิตศาสตร์ ถ้าเห็นสัญลักษณ์แบบนี้ มันหมายถึง “และ” นะคะ มันหมายถึง “และ” อันที่ 2 “หรือ” “หรือ” ตัวนี้นะคะ สัญลักษณ์ หงายหมวกขึ้น เป็นตัว V นั่นแหละ คล้าย ๆ กับตัว V นะคะ อย่าจำสับสนนะ ถ้า “และ” มันจะคว่ำ ถ้า “หรือ” มันจะอะไรคะ มันจะหงาย นี่มันจะหงาย ทีนี้มาดูกันว่า ตัวที่ 3 คืออะไร ถ้า... ถ้าเหตุการณ์แรกเกิด ถ้าเหตุการณ์แรกเกิดขึ้น แล้วเหตุการณ์ที่ 2 ต่อมานะคะ สัญลักษณ์ก็คือตัวนี้ เหมือน ใช่ ลูกศรนะคะ ชี้ไปทางที่มันจะเกิดตามนะคะ ตัวนี้ ตัวที่ 4 “ก็ต่อเมื่อ” ตัวที่ 4 นะ “ก็ต่อเมื่อ” สัญลักษณ์เป็นอย่างไรคะ หัวลูกศร มีเหมือนกัน เกิดขึ้นทั้ง 2 ทิศทางเลยนะคะ หัวลูกศร ดูนะ มันจะไปทั้ง 2 ทิศทาง ทำตัวนี้ก็ต่อเมื่อสัญลักษณ์เป็น 2 ตัวนะ และอันที่ 5 “นิเสธ” นะคะ นิเสธคืออะไร นิเสธ คือ ตรงกันข้าม คือการตรงกันข้ามนะคะ นี่สัญลักษณ์เหมือนตัวลบนะ แต่มันคลื่น มันเป็นคลื่นหน่อยนะคะ เขียนง่าย อันนี้ ถ้ามันอยู่ข้างหน้านะคะ และเวลาเอาประโยคนะคะ เอาประพจน์มาเชื่อมกัน 2 ประพจน์นี่ โดยใช้สัญลักษณ์ตัวนี้ ดูนะ ครูจะให้นักเรียนดูตารางค่าความจริงนะ นี่ อันนี้คือ “และ” นะคะ สัญลักษณ์เป็นแบบนี้ เหมือนใส่หมวก เอา 2 ประโยคนี้มาเชื่อมหากัน ประพจน์ตัวที่ 1 เป็นอะไรคะ p ใช่ไหม ประพจน์ตัวแรกคือ p ลูก ไออุ่นดู ประพจน์ตัวแรก คือ p ประพจน์ตัวที่ 2 คือ q เมื่อไหร่ก็ตามที่เอาประพจน์ 2 อันนี้มาเชื่อมกัน เชื่อด้วยคำว่า "และ" เขาใช้สัญลักษณ์ตัวนี้นะคะ เหมือนตัว V คว่ำลงใส่หมวกนะคะ “และ” ถ้าจะเกิดขึ้น ให้ดูตามนี้ จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อมีตัวจริงทั้ง 2 ค่า เกิดขึ้นทั้ง 2 ตัวพร้อม ๆ กันนะคะ แต่ถ้าเมื่อไหร่อันหนึ่งจริงอันหนึ่งเท็จ แสดงว่าพอมาเชื่อมกันมันจะกลายเป็นเท็จ เข้าใจนะ โอเคนะ อันนี้ “หรือ” “หรือ” นี่ ไม่จำเป็นจะต้องมีทั้ง 2 ใช่ไหมคะ อันใดอันหนึ่งก็ได้ อันใดอันหนึ่งก็ได้ อย่างเช่น นี่ จริงกับเท็จ มีจริงอันเดียว แสดงว่าเป็นจริงได้เลยนะคะ เท็จหรือจริง อันนี้มีจริงอยู่ด้วย เป็นจริงได้เลยนะคะ อันไหนที่มีจริง แสดงว่าตัวนี้ ตัวแรกที่เป็น “หรือ” นี่ มีจริงอันใดอันหนึ่ง ค่าความจริงก็จะเป็นจริงนะคะ แต่ตัวสุดท้าย FF เป็นเท็จกับเป็นเท็จ ตัวสุดท้ายไม่มีจริงเลย เพราะฉะนั้น ตัวนี้จะเป็นอะไร เป็นเท็จนะคะ เข้าใจไหม โอเค เดี๋ยวครูจะให้นักเรียนดูบนกระดานนะคะ เดี๋ยวครูจะพาทำนะ เดี๋ยวเอาสมุดขึ้นมานะคะ เอาสมุดขึ้นมาเขียนตัวนี้ก่อน สมุดนักเรียนมาบันทึกตัวนี้ก่อน แล้วก็สร้างตารางแบบนี้เอาไว้นะคะ มีแต่คนไม่ได้เอาสมุดมา เก่งมาก มีอยู่คนเดียว เยี่ยม ปรบมือให้เพื่อนหน่อย เอาสมุดมาเรียนอยู่คนเดียว มีใครบ้างที่เอาสมุดมา มีอยู่ 2 คนนะ อีก 5 คนล่ะ เอาไปฝากไว้หอนอนเหรอลูก ไม่เอานะ อย่างนี้ ต่อไปนะคะ ต่อไปนี่ต้องเอามาด้วย เอาเข้ามาเรียนด้วย เพราะบางครั้งครูก็จะให้นักเรียนบันทึกเหมือนกันนะคะ ตารางเชื่อมประพจน์นะคะ เดี๋ยวนักเรียนบันทึกตัวนี้ลงไปก่อนนะ เดี๋ยวครูจะแจกกระดาษให้ ส่วนที่เหลือ 5 คน จะต้องทำงาน 2 ครั้ง ลอกลงไปในกระดาษ เสร็จแล้วเอาไปใส่ในสมุดนะคะ บันทึกตัวนี้ลงไปก่อนนะคะ ออกมาเอากระดาษไปเขียนลูก ลูกเสร็จแล้วนะคะ ทีนี้ลูกมาดูนะคะ ตารางค่าความจริงเมื่อมีตัวเชื่อมนะคะ ตัวแรกคือ “และ” ลูกดูนะ ทั้งหมดดูนะคะ สัญลักษณ์ “และ” คืออะไร คล้ายหมวกเลยนะคะ ประพจน์ตัวที่ 1 p และ q เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีคำว่า "และ" นะคะ แสดงว่ามันมีทั้ง 2 ค่า มันถึงจะเป็นจริงได้นะคะ เป็นจริงทั้งคู่ มันถึงจะเป็นจริง เพราะฉะนั้น ค่าความจริงของตัวนี้นะคะลูก p และ q จะมีค่าความจริงก็ต่อเมื่ออะไรคะ นี่มันเป็นคู่ คู่กันเลย จริงกับจริง ตัวนี้จะเท่ากับจริงนะคะ ตัวนี้คือจริง แต่อันนี้มันมีจริงไหมคะ มันไม่เป็นคู่นะคะ คู่ไม่มี เพราะฉะนั้น 3 ตัวนี้จะเป็นเท็จนะคะ เท็จทั้งหมดเลย เมื่อไหร่ก็ตามที่ดูสัญลักษณ์ “และ” นะคะ ตัวเชื่อมเป็น “และ” จะเป็นจริงกรณีเดียว ก็คือเป็นจริงทั้งคู่นะคะ เป็นจริงทั้งคู่ ดูนะ จำได้ไหม อันนี้สำคัญ จะเป็นจริงทั้งคู่ ก็ต่อเมื่อข้างหน้าเป็นจริง ข้างหลังก็เป็นจริง แต่ถ้าเมื่อไหร่มันมีเท็จแม้แต่อันเดียวเข้ามา มันจะกลายเป็นเท็จทั้งหมดนะคะ เมื่อเรามาเชื่อมด้วยคำว่า "และ" นะคะ ทีนี้ “หรือ” คำนี้ “หรือ” “หรือ” ตัวนี้ สัญลักษณ์นะคะ หงายขึ้นเหมือนตัว V เลยนะคะ หรือนี่ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้นะคะ ที่เป็นเท็จ ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ที่เป็นจริง ถือว่าจริง เอาใหม่นะคะ ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ ขอ 1 ตัวที่เป็นจริง ใน 2 ประโยคนี้ ขอตัวเดียวนะคะ เมื่อเอามาเชื่อม ประโยคก็จะกลายเป็นจริงทันที อันนี้จริงกับจริง มีมากกว่า 1 อีก เพราะฉะนั้น ต้องเป็นจริงแน่นอน อันนี้อยู่ในกฎเลยนะคะ จริงมีตัวหนึ่งอย่างน้อย 1 ตัว เพราะฉะนั้น อันนี้ก็จริง ตัวนี้มี T ตัวหนึ่ง จริง สรุปก็คือจริง อันนี้ไม่มี T เลยสักกะตัวนะคะ เพราะฉะนั้น จะเป็นเท็จ มองแล้ว... มองเห็นอะไรคะ อยู่ในตารางนี้ลูก มองเห็นอะไร จะเห็นว่าตารางที่มีค่าความจริงเยอะมาก ก็คือตารางหรือถูกไหมคะนี่ ถ้าใช้คำว่า “หรือ” มา อย่างใดอย่างหนึ่งให้เลือกนะคะ มีจริงตัวเดียวนี่ มันเป็นจริงหมดเลยนะคะ ทั้ง 2 ประโยค ประโยคไหนที่เป็นจริง โอกาสมันก็จะเป็นจริงนะคะ โอเคนะ ทีนี้ ต่อมานะคะ “นิเสธ” “นิเสธ” คือ ตรงกันข้าม อันนี้ง่ายมากนะลูก “นิเสธ” คือตรงกันข้ามตรงกันข้ามดู อันนี้ T ใช่ไหมคะ นิเสธของ p คืออะไร ลูกก็มาดู อันนี้คือ T ถูกหรือเปล่า ตรงกันข้ามกับ T คืออะไรคะ ตรงกันข้ามกับ T ก็คือเท็จใช่ไหม ก็คือเท็จถูกไหม T ไม่ใช่ T P ขอโทษค่ะ P P ตัวนี้มันเป็นจริง เพราะฉะนั้น ตัวนี้ก็จะต้องเป็นเท็จถูกไหมคะ อันนี้เป็นจริง อันนี้ก็ต้องเป็นเท็จ นี่ ก็จะเป็นตรงกันข้ามก็คือจริง ตรงกันข้าม จริง ถาม ช่องนี้ นิเสธของ q อันนี้จะเป็นอะไรลูก นี่ดูนะ อันนี้คือ T ช่องนี้จะเป็นอะไร ตรงกันข้ามกับ T คืออะไร ถูกต้อง F นะคะ F เพราะว่ามันตรงกันข้าม เป็นนิเสธนะคะ ตัวนี้ล่ะ F เป็นอะไร เป็นจริง ถูกต้องนะคะ ง่ายไหมตัวนี้ อันนี้ล่ะ อันนี้ง่ายไหมลูก ง่ายไหมคะ อันนี้ดูง่าย สังเกตง่าย ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีสัญลักษณ์นิเสธอยู่ข้างหน้าแบบนี้ มันจะตรงกันข้ามนะคะ ถ้า p เป็นจริง นิเสธของ p ก็คือเป็นเท็จนะคะ มันก็คือตรงกันข้ามแค่นั้นเอง ไม่มีอะไรมาก ตัวนี้ จำได้ไหม จำได้ไหมคะ ทีนี้ไปดู คำว่า “ถ้า…แล้ว…” นะคะ “ถ้า…แล้ว…” นะคะ “ถ้า…แล้ว…” ตัวนี้ ถ้าเหตุการณ์ p เกิดขึ้น แล้วเหตุการณ์ q เกิดขึ้น ถ้าค่าความจริงของ 2 ประโยคนี้เป็นอย่างไร ดูนะ T กับ T นะคะ ถ้า T กับ T ตัวนี้จะเป็นจริง เพราะอะไรนี่ จริงแล้วจริง ก็คือต้องเป็นจริงถูกไหม ทีนี้ จริงแล้วเท็จนะคะ เป็นเท็จ อันนี้ดูข้างหลัง กรณีอันนี้ดูข้างหลังนะคะ ข้างหลังเป็นอะไร อันนี้เป็น T เป็น F เป็น F เอ้ย เป็น T นะคะ เหมือนกันเลย แต่ตรงนี้พิเศษนิดหนึ่ง เมื่อไหร่ก็ตามที่มันเหมือนกันทั้ง 2 ตัว เมื่อไหร่ก็ตามที่เหมือนกันทั้ง 2 ตัว ถ้าใช้ประโยคเชื่อม “ถ้า…แล้ว…” มันเหมือนกัน ค่าความจริงที่เชื่อมมันจะเป็นจริงลูก อันนี้คือประโยค “ถ้า…แล้ว…” นะ ถ้าเมื่อไหร่ที่ค่าความจริงมันต่างกัน ให้ไปดูตัวหลัง ถ้าตัวหลังนะคะ มีค่าความจริงเป็นอะไร คำตอบก็คือค่าความจริงตัวนั้น อย่างนี้เห็นไหม มันมีจริง มันมีทั้ง 2 ค่าเลย จริงจริง ก็จะเป็นจริง อันนี้ F F เหมือนกันทั้ง 2 ค่า ก็จะเป็นจริงเหมือนกันนะ อย่างงนะลูก “ถ้า…แล้ว…” “ถ้า…แล้ว…” ดูดี ๆ อันไหนที่เหมือนกัน มีค่าความจริงเป็นจริงนะคะ ตัวไหนที่มันไม่เหมือนกัน ให้ไปดูตัวข้างหลัง มันจะตามตัวข้างหลังนะคะ F ตัวนี้ เห็นไหม มันเป็น F ตัวข้างหลังมันเป็น F เพราะฉะนั้น เมื่อเชื่อมกันแล้วมันก็จะเป็น F นะคะ ตัวนี้เป็นจริง มันก็จะเชื่อม ดูข้างหลังเป็นจริงนะคะ อันนี้จับดี ๆ มันจะงง ๆ หน่อย แต่ถ้าลูกจำได้นี่ มันก็จะง่ายขึ้น อันนี้ประโยคเชื่อม ถ้า... ถ้า p แล้ว q p มันขึ้นก่อน นี่ p มันขึ้นก่อน ตัว p มันขึ้นก่อนนะคะ “ถ้า…แล้ว…” q เกิดขึ้น เข้าใจนะ โอเคไหมลูก งงไหมอันนี้ งงไหม งงไหม เข้าใจนิดหนึ่ง ตัวนี้น่ะมันก็จะแบบยากขึ้นมาหน่อยนะลูก ไม่เหมือน “และ” แล้วก็ “หรือ” แล้วก็ “นิเสธ” นิเสธนี่ง่ายสุด นิเสธนี่ง่ายสุด เพราะมันตรงกันข้าม อันนี้เดี๋ยวค่อยฝึกไปเรื่อย ๆ นะคะ มาตัวสุดท้าย สัญลักษณ์ตัวนี้คืออะไร นี่ “ก็ต่อเมื่อ” “ก็ต่อเมื่อ” นะคะ เป็นตัวเชื่อมที่มี... ที่จะให้ค่าความจริงเหมือนทั้ง 2 ประพจน์เลย นะ อันนี้เหมือนทั้ง 2 ประพจน์นะคะ อันนี้จะเป็นอะไรคะ เป็นจริง อันนี้ก็เป็นอะไร เป็นเท็จ ลักษณะคล้ายกัน อันนี้เป็น… เป็นอะไรคะ เป็นเท็จ อันนี้เป็นจริงนะคะ ลักษณะคล้ายกันเลย ต่างกันตรงไหนลูก ตัวนี้ถูกไหม ตัวนี้กับตัวนี้ ช่องนี้นะคะ ตัวแรก ช่องแรกนี่ T เหมือนกันเลย T เหมือนกัน อันนี้ F เหมือนกัน T เหมือนกันในช่องที่สุดท้าย แต่ช่องที่ 3 นี่ลูกเห็นไหมความแตกต่าง “ถ้า...แล้ว…” “ก็ต่อเมื่อ” ตัวนี้ “ถ้า...แล้ว…” ดูข้างหลังถูกไหมคะ แต่ตัวนี้เมื่อไหร่มันมี F ตัวเดียว มันก็เป็น F อันนี้จะงง ๆ หน่อย เดี๋ยวนักเรียนต้องจำนะคะ แล้วก็ทำ... เดี๋ยวครูจะทำให้ฝึกเยอะ ๆ จำสัญลักษณ์ให้ได้ แล้วก็จำสมบัติมันให้ได้นะคะ ตัวนี้มันนิดเดียว “ถ้า...แล้ว…” ถ้าดู “ถ้า...แล้ว…” ปุ๊บนี่ ประเด็นเลย มันจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อทั้ง 2 ค่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ คือพบทั้ง 2 ค่าที่เหมือนกันลูก มันก็จะมีค่าความจริงที่เป็นจริงนะคะ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ทั้ง 2 ค่ามันไม่เหมือนกันนะคะ มันมีอันใดอันหนึ่ง ให้ไปดูตัวข้างหลัง ตามตัวข้างหลังเลยนะคะ ตัวนี้ แล้วมาดูตรงก็ต่อเมื่อ ก็ต่อเมื่อนี่ จะต่างกัน มันจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อ พบทั้ง 2 อัน ที่เหมือนกัน TT เหมือนกันก็จะเป็นจริง FF มันเหมือนกันก็จะกลายเป็นจริง นอกนั้นไม่ต้องมาดูหน้าหลังแล้ว ไม่ต้องมาดูหน้าหลัง มันไม่เหมือนกัน มันมีอันใดอันหนึ่งที่มันไม่เหมือนกัน แสดงว่ามันเป็นเท็จแล้วลูก อันนี้ เดี๋ยวเราค่อยมาจับมันอีกทีหนึ่ง โอเคนะ โอเค ถามไหมคะ งงไหม ถามไหมอันนี้ ไม่งง เดี๋ยวอันนี้ครูจะให้บันทึกนะคะ เดี๋ยวสัปดาห์หน้าครูจะทำแบบฝึกเรื่องของตารางค่าความจริงมาให้ลูก ๆ ได้เล่นกัน เดี๋ยวมาเล่นเกมลูกก็คงจะแบบจำได้มากขึ้น ตอนนี้ก็คือ ให้รู้ก่อนว่า ค่าความจริงเวลาประพจน์เอามาเชื่อมกัน 2 ประพจน์นะลูก เวลาเอามาเชื่อมกัน มีตัวไหนบ้างที่เอามาเชื่อมกัน มันก็จะมีอยู่ 5 ค่าด้วยกันนะ ก็คือสัญลักษณ์ “และ” นะคะ “และ” นี่ก็คือคว่ำลงนะ “และ” อันที่ 1 นี่ “และ” อันที่ 2 “หรือ” “หรือ” นี่หงายขึ้นนะคะ “ถ้า...แล้ว…” หัวลูกศรมีอันเดียวนะคะ ชี้ไปทางเดียว “ก็ต่อเมื่อ” มีหัวลูกศรอยู่ทั้ง 2 ข้างด้วยกัน ชี้ทั้งไปข้างหน้าแล้วก็ข้างหลังนะลูก และตัวสุดท้ายคือ “นิเสธ” สัญลักษณ์นิเสธนะคะ เหมือนคลื่นเลย เหมือนคลื่นน่ะ ตัวนี้ตรงกันข้าม ถ้าประพจน์ข้างหน้ามันเป็นจริง ถ้านิเสธก็จะเป็นเท็จ อันนี้ตรงกันข้าม อันนี้ง่ายมากนะคะ ลูกตอบได้ถูกต้องหมดเลย ที่ลูกยังมีปัญหาก็คือข้างหลังนี่แหละ “ถ้า...แล้ว…” “ก็ต่อเมื่อ” ใช่ไหม อันนี้จะจำยาก งง ๆ งงไหมเจ๊ก งงไหมลูก อันนี้ พอเข้าใจไหม เออ เข้าใจ เจ๊กเข้าใจ ดีมาก รู้สึกจะมีเข้าใจอยู่คนเดียว เดี๋ยวให้... เดี๋ยวเพื่อน ๆ นี่ต้อง… เดี๋ยวทำกิจกรรม จะได้เพิ่มความเข้าใจมากขึ้นนะคะ มีคำถามไหมคะวันนี้ หมดเวลาแล้ว ลูก ๆ ถามไหม มีคำถามอะไรไหมวันนี้ เราเรียนเรื่องของอะไรคะ ประพจน์นะคะ วันนี้เราเรียนทบทวนในเรื่องของประพจน์ แล้วเราเรียนเรื่องตัวเชื่อมประพจน์นะคะ ซึ่งตัวเชื่อมนี่ มันก็จะมีตารางออกมานะ ที่ครูทำ พาทำตารางนะคะ หาค่าความจริงออกมา เดี๋ยวตัวนี้ ครูจะให้นักเรียนทำใบงานด้วยนะคะ ถ้าไม่มีอะไรแล้ว ไปเรียนอะไรต่อลูก ไปเรียนอะไรต่อ วิชาอะไรคะ อ๋อ เรียนภาษาอังกฤษ โอเค วันนี้ขอบคุณพี่ล่ามมาก ๆ นะคะ ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ [สิ้นสุดการถอดความ]