(อาจารย์กรรณิกา)สวัสดีค่ะ ค่ะ เชิญนั่งค่ะ นักเรียนพร้อมนะคะ วันนี้เราจะมาเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งสัปดาห์ที่แล้วตรงกับวันหยุดใช่ไหมห้องม. 4 ก็เลยไม่ได้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ วันนี้อากาศดีนะคะ ที่โรงเรียนของเราฝนตก อากาศเย็นสบายไหม อ๋อ เย็นสบายไม่ร้อนเหมือนสัปดาห์ก่อน ๆ นะ ที่เรามาเรียนกันสัปดาห์นั้นจะร้อนมาก แต่อากาศแบบนี้ ฤดูฝนแบบนี้ นักเรียนจะต้องดูแลสุขภาพนะคะ ฝนตก อากาศเย็นนักเรียนอาจจะเป็นไข้ได้นะคะ และนักเรียนสังเกตไหม ช่วงฤดูฝนนี่ จะมียุงใช่ไหมคะ ยุงเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวัน หรือตอนกลางคืน ยุงเยอะ เพราะฉะนั้นพยายามอย่าให้ยุงกัดนะคะ เพราะว่าถ้าเราเจอยุงลายกัดจะทำให้เราเป็นไข้เลือดออก ไข้เลือดออกอันตรายนะคะ สามารถทำให้เราเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้น นักเรียนจะต้องดูแลตัวเองดูแลสุขภาพโอเค เราจะมาทบทวนหัวข้อที่แล้วที่เราเรียนไป จำได้ไหม ว่าเราเรียนเกี่ยวกับอะไร เกี่ยวกับอะไรคะ ในสมุดดูในสมุดสิ เกี่ยวกับสัตว์ ต้นไม้อะไรต่าง ๆ ซึ่งรวมกันจะเป็นการเรียนเกี่ยวกับระบบนิเวศใช่ไหมคะ จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับระบบนิเวศนะคะ ซึ่งเราจะดูกันไปแล้วว่าองค์ประกอบของระบบนิเวศมีอะไรบ้าง โซ่อาหารเป็นแบบไหน ใครกินใคร ใครเป็นผู้ผลิต ใครเป็นผู้บริโภคอันดับที่ 1 ใครเป็นผู้บริโภคอันดับที่ 2 จำได้ไหม จำได้ไหม จำได้ไหมคะ ดู ๆ เปิดดูในสมุดของเรา ในสมุดของเราจะมีสาหร่ายทะเลใช่ไหม แล้วก็มีปลา เป็นสาหร่าย เป็นสาหร่าย เป็นสาหร่าย หรือพวกอะไรต่าง ๆ ที่เป็นพืชอยู่ในน้ำนะคะ แล้วก็จะมีปลามีอะไรอีกมีเป็ด มีงู มีสัตว์อะไรต่าง ๆ ที่มันจะเกี่ยวกับโซ่อาหารที่มันจะกินกันเป็นทอด ๆ จำได้นะ แล้วมาวันนี้เราจะมาเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศตามที่คุณครูได้โชว์ในสไลด์ เดี๋ยวคุณครูจะแจกใบความรู้ให้นะคะ ดูนะคะ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ เกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดจากการกระทำของมนุษย์การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงแทนที่เป็นการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นเวลานาน ๆ ซึ่งเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางกายภาพและชีวภาพส่งผลให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปสู่สมดุลจนเกิดสังคมที่สมบูรณ์ และอีกอย่างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบในระบบนิเวศ ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของขนาดประชากร ทีนี้เรามาดูกันว่านักเรียนดูสไลด์ที่ 2 ในแผ่นใบงานนะคะ ในระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตอย่างเป็นลำดับขั้น เรียกว่า "การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ" โดยมีปัจจัยทางกายภาพ และชีวภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ เริ่มจากบริเวณที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อนจนกลายเป็นสังคมสมบูรณ์ที่มีความสมดุลทางธรรมชาติโดยเริ่มจากไลเคน มอส หญ้า ไม้ล้มลุก ไม้ยืนต้น และสังคมพืชตามลำดับนะคะ เดี๋ยวเราจะได้มาดูภาพกันส่วนข้อที่ 2 ประเภทที่ 2 จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบ "ทุติยภูมิ" เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เคยมีสิ่งมีชีวิต ที่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นะคะ แต่พื้นที่ที่ถูกทำลาย คือ เคยแต่ก่อนเคยมีสัตว์มีสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อาศัยอยู่บริเวณนั้น แต่หลังจากนั้นก็ถูกทำลาย จนกลายเป็นพวกสังคมสมบูรณ์โดยเริ่มจากหญ้า ไม้ล้มลุก ไม้ยืนต้น และพืชสังคมนะคะ ตามลำดับมาเราจะได้ดูรูปต่อไปกัน เห็นไหมคะ นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิที่ครูได้บอกไปในขั้นตอนแรกนะคะ ก็เริ่มจากบริเวณที่ปราศจากสิ่งมีชีวิตเช่นเป็นพวกบนก้อนหิน หรือหน้าดิน ซึ่งกลุ่มสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตามลำดับ นักเรียนเห็นข้างล่างไหม ข้างล่างที่เขาเขียน ว่าก้อนหินตรงนี้นะคะ อันดับแรกจะมีแค่ก้อนหินใช่ไหม ต่อมาก็เริ่มจาก ไลเคน ตรงนี้จะเป็นสีเขียวใช่ไหมคะ แล้วก็มีมอส นักเรียนเห็นมอสไหมหน้าฝนโรงเรียนเราก็มีอยู่นะ ที่เวลาตรงที่มันมีน้ำแฉะ ๆ หน่อยตรงนั้นมันจะมีขึ้นเขียว ๆ เห็นอยู่ใช่ไหม ที่เราชอบเอาไปจัดสวนถาดกันน่ะใช่แล้ว หลังจากนั้นก็จะมีพวกหญ้าเห็นไหมคะ ต้นเขียว ๆ ตรงนี้ จะมีหญ้าเกิดขึ้น เพราะถ้ามาก็เริ่มมีไม้ล้มลุกใช่ไหม เป็นพวก..เป็นพวกนี้ถัดมาอีกปุ๊บก็จะเป็นไม้ยืนต้น เพราะอะไร สิ่งมารวมกันก็จะเป็นสังคมพืชเห็นไหมคะ พอรูปรวมทั้งหมดนี่ มันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมินะคะ ทีนี้เรามาดูอันที่ 2 อันที่ 2 เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิแบบนี้ก็จะเกิดจากกลุ่มสิ่งมีชีวิตเดิมถูกทำลายแต่ยังคงมีสิ่งมีชีวิตบางชนิด และสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตต้องการเหลืออยู่ เช่น บริเวณที่ถูกไฟไหม้ กลุ่มสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ อย่างเช่น ป่าที่ถูกไฟไหม้ แต่ว่าไฟอาจจะไม่ทั้งหมดใช่ไหมคะ นักเรียนดูภาพข้างล่างเกิดไฟไหม้ป่าเห็นไหมตรงนี้ ไฟไหม้ป่า ไฟไหม้ต้นไม้แต่ว่าก็ยังมีหญ้าเหลืออยู่ มันอาจจะไหม้ไม่หมดถูกไหม แล้วก็ยังจะมีไม้ล้มลุก มีไม้ยืนต้น แล้วก็มีสังคมพืชพวกนี้มันก็จะยังเหลืออยู่นี่ก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมินะคะ ทีนี้นักเรียนมีข้อสงสัยตรงไหนบ้างเอ่ย มีถามไหม ถามอะไรไหม เข้าใจดีนะคะ เดี๋ยวเราจะได้ทดสอบกัน ว่านักเรียนเข้าใจหรือว่าไม่เข้าใจ เดี๋ยวคุณครูจะให้นักเรียนทำใบงานนะคะ แป๊บหนึ่งเดี๋ยวคุณครูจะแจกให้นะคะ นักเรียนดูจากใบงานนะคะ ใบงานจะเป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศจะให้นักเรียนอธิบายลงในนี้นะคะ อย่างเช่นภาพที่ 1 นักเรียนดูใบงานภาพที่ 1ภาพที่ 1 การเปลี่ยนแปลงแทนที่ แบบในรูปน่ะค่ะ เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบไหน นักเรียนเห็นไหม ภาพที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบไหน ฝั่งนี้ ๆ ดูจากภาพแล้วเป็นอย่างไรคะ นักเรียนดูภาพ ดูภาพที่ 1 ก่อนนะคะ ภาพที่ 1 นักเรียนสังเกตดู ว่าต้นไม้บางต้นมันจะเป็นสีดำใช่ไหมเป็นสีดำแล้วก็มีหญ้าที่เกิดอยู่ข้างล่างนั่นคือมันอาจจะเกิดจากการไฟไหม้ป่าก่อนใช่ไหม ถ้าเป็นไฟไหม้ป่านี้จะเป็นแบบที่ 1 ปฐมภูมิหรือแบบที่ 2 ทุติยภูมิเป็นแบบที่ไหนคะ ฮานอยเป็นแบบที่ไหน โอเค เป็นแบบที่ 2 ส่วนภาพที่ 2 ล่ะคะ ภาพที่ 2 เป็น... เป็นปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ 1 หรือ 2 ภาพที่ 2 น่ะ ภาพที่ 2 เป็นแบบไหน ใช่ค่ะ ภาพที่ 2 จะเป็นแบบที่ 1 แทนที่แบบปฐมภูมินะคะ โอเค ให้นักเรียนเขียนคำตอบแล้วก็อธิบายด้วยนะคะ ว่าเป็นปฐมภูมิเนื่องจากอะไรนะคะ โอเคนักเรียนเสร็จแล้วนะคะ เสร็จแล้วทีนี้เราจะมาสรุปหัวข้อกันเดี๋ยวคุณครูจะถามนะคะ จากภาพที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบไหน แบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 จากภาพที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไหน เป็นแบบที่ 2 นะคะ ถูกต้องค่ะ แล้วภาพที่ 2 นะคะ ในแบบฝึกหัด เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไหน ภาพที่ 2 โอเคแบบที่ 2 เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบที่ 1 คือปฐมภูมิถูกไหมคะ เราจะมาสรุปกันว่าการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ ก็คืออย่างไรเริ่มจากบริเวณที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อนใช่ไหมคะ จนกลายเป็นสังคมสมบูรณ์ที่มีความสมดุลทางธรรมชาติ คือ ก็เริ่มจากหินจากดิน แล้วก็กลายมาเป็น ไลเคนเป็นพืช เป็นต้นไม้ เพิ่มเข้ามาเรื่อย ๆ นะคะ ส่วนแบบที่ 2 คือ แบบทุติยภูมิ เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แต่พื้นที่ถูกทำลาย เห็นไหมนี่ อันนี้คือแบบที่ 2 ใช่พื้นที่ถูกทำลายไม่ว่าจะเกิดจากไฟป่าหรือว่าคนเผาป่าอะไรพวกนี้นะคะ ที่เกิดจากพื้นที่ที่ถูกทำลายแต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างมันยังไม่ได้ถูกทำลายทั้งหมด เขาก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ฟื้นขึ้นมาใหม่ทำให้มีพวกต้นไม้ มีใบหญ้า มีสัตว์ต่าง ๆ เข้ามา ตัวนี้จะเป็นแบบที่ 2 นะคะ โอเค นักเรียนมีคำถามไหมลูก มีคำถามอะไรไหม มีคำถามยกมือ ไม่มีคำถาม โอเค ถ้านักเรียนมีคำถามรีบถามนะคะ เพราะว่าเวลาล่ามของเราเดี๋ยวใกล้จะหมดแล้ว ค่ะ ถ้านักเรียนไม่มีคำถามแล้วเดี๋ยวคุณครูจะให้เรียนเก็บใบงานมาส่งนะคะ อ๋อด้านหลังมีด้านหลังมี เดี๋ยวเราจะได้ทำในสัปดาห์ต่อไปเพราะว่าคุณครูจะได้เล่าก่อนนะ คุณครูจะได้อธิบายก่อนนักเรียนถึงจะทำใบงานข้างหลังได้นะคะ หรือว่าอยากทำ อยากทำวันนี้ โอเค ๆ ได้ อยากทำวันนี้นักเรียนเปิดไปที่ด้านหลังข้างหลังนะคะ เป็นเรื่องที่เราเคยทำมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วสัปดาห์ก่อน ๆ นะคะ เรื่องโซ่อาหาร ทีนี้แต่ตัวนี้มันจะเป็นสายใยอาหาร เรื่องสายใยอาหาร ก็คือมีโซ่อาหารหลาย ๆ โซ่มารวมกันจะเรียกว่า "สายใยอาหาร" นะคะ คือมีหลาย ๆ โซ่หลาย ๆ โซ่อาหารหลาย ๆ อย่างรวมกันมาปุ๊บอยู่ในตัวนี้ในภาพที่นักเรียนเห็นเขาจะเรียกว่า "สายใยอาหาร" นะคะ อย่างเช่น รูปที่ 1 มีหญ้าทะเลใช่ไหม มีเต่า มีกุ้ง มีปลา มีนก โซ่แรกที่เราจะได้ ก็คือ หญ้า กุ้งกินหญ้าใช่ไหม แล้วปลาก็มากินกุ้งอีกที แล้วนกก็มากินปลาอีกทีหนึ่ง นักเรียนจะได้ 1 โซ่อาหารนะคะ จะขึ้นกระดานดูที่บนกระดาน อันนี้คือโซ่ที่ 1 ดูตามว่าหัวลูกศรเขาชี้ไปทางไหนนะคะ หัวลูกศรชี้ไปทางไหนคือตัวนั้นจะมากินเพื่อนนะคะ อย่างเช่น หัวลูกศรชี้ไปที่กุ้ง กุ้งกินหญ้าถูกไหม แล้วหัวลูกศรชี้ไปที่ปลาต่อ ปลากินกุ้ง หัวลูกศรก็ชี้ไปที่นกอีกรอบ ก็คือนกกินปลา นี่คือ 1 โซ่อาหาร ส่วนอันที่ 2 ข้อที่ 2 นักเรียนเห็นหญ้าไหม หญ้าทะเลกับเต่า หญ้าทะเลกับเต่า ใช่ ๆ ฮานอยมานี่มาเขียนให้เพื่อนดู ใช่ ดูตามลูกศรนะลูก ถ้าตัวไหนที่ลูกศรเขาไม่ชี้ไป แสดงว่าเขาจะไม่เกี่ยวกับโซ่อาหารตัวนั้น เราจะดูหัวลูกศรหัวลูกศรชี้ไปตัวไหน ตัวนั้นจะเกี่ยวกับโซ่อาหาร อย่างเช่น หญ้าทะเลเห็นไหม ดูที่จอก่อน หญ้าทะเล จากหญ้าทะเลชี้ไปหาที่เต่า แสดงว่าเต่ากินหญ้าทะเล นั่นคือ 1 โซ่อาหาร ใช่ ทีนี้เรามาดูอีกอันหนึ่ง สาหร่ายข้างล่างเห็นไหม สหร่ายข้างล่าง สาหร่ายทะเลข้างล่างสาหร่ายทะเลนี่จากสาหร่ายทะเลชี้มาที่เต่า แสดงว่าเต่ากินสาหร่ายทะเลอีกอันหนึ่งข้างล่างมีทากด้วย หัวลูกศรชี้จากสาหร่ายไปทาก แล้วก็ชี้จากทากไปกบ แสดงว่าทากกินสาหร่ายทะเล แล้วก็กบกินทากอีกทีหนึ่ง นี่ก็คือ 1 โซ่อาหาร หลาย ๆ โซ่อาหารรวมกันเรียกว่า "สายใยอาหาร" นะคะ โอเค เราจะได้ทำตัวนี้กันต่อเดี๋ยวจะให้นักเรียนทีละคนออกมาทำทีละข้อ คนละ 1 ข้อ ในนี้ก็จะมีประมาณ 8-9 ข้อพอดีครบ นักเรียนคะฮานอยดูก่อนลูกจากที่นักเรียนได้ออกมาทำนะคะ อย่างเช่น โซ่ที่ 1 คือหญ้าใช่ไหม กุ้ง ปลา นก ถูกต้องนะคะ แล้วก็นักเรียนดูข้อนี้ ที่เพื่อนออกมาทำเมื่อกี้นะคะ จะมีสาหร่าย เสร็จแล้วก็ไปเป็นทาก ต่อมาก็เป็นกบ อันดับสุดท้ายที่เป็นผู้บริโภค คือ นกนะคะ ถูกต้องค่ะ ตามนี้ได้เลยนะคะ แสดงว่าเรื่องนี้เข้าใจใช่ไหม เรื่องโซ่อาหารเข้าใจ รู้ โอเค วันนี้เราก็จะจบไว้ที่เท่านี้ก่อนนะคะ โอเคค่ะ หมดแล้วค่ะ ขอบคุณพี่ล่ามและทีมงานค่ะ รอสักครู่นะคะ รอสักครู่นะคะ โอเคค่ะ ขอบคุณค่ะ [สิ้นสุดการถอดความ]