(อาจารย์กรรณิกา) อ๋อค่ะ ขอบคุณค่ะ ตอนนี้นักเรียนกำลังเขียนชื่ออยู่ค่ะ เพราะว่าบางคนเขาเพิ่งจะได้สมุด โอเค พร้อม โอเคค่ะ นักเรียน เป็นอย่างไรบ้างวันนี้ อากาศเย็นสบาย อากาศเย็นสบาย เพราะว่าฝนตกใช่ไหม สัปดาห์ก่อน ๆ ที่เรามาเรียนเจอกันตอนนั้นอากาศร้อนมาก ทีนี้ช่วงนี้เป็นฤดูฝนนะคะ คุณครูก็อยากให้นักเรียนดูแลสุขภาพ ดูแลสุขภาพตนเองนะคะ ระวังจะเป็นไข้ เป็นหวัด หรือว่าช่วงนี้มีฝนตกแล้ว ยุงก็เยอะนะคะ นักเรียนเห็นไหมตอนกลางวัน เสาร์-อาทิตย์ เมื่อกี้นี่ ยุงลายใช่ไหม กลางวันน่ะ ยุงลายมันจะออก ถ้าสมมุติว่าเราเจอยุงลายกัดเราบ่อย ๆ หรือว่ามาก ๆ อาจจะทำให้เราน่ะเป็นไข้เลือดออก ไข้เลือดออกนี่สามารถทำให้เราเสียชีวิตได้นะคะ ถ้าสมมติใครที่ไม่สบายนี่ต้องรีบแจ้งคุณครูนะคะ ครูจะได้ให้ยา แล้วก็ถ้าไข้สูงมาก ๆ เราจะได้ไปพบหมอที่โรงพยาบาล เพราะถ้าเรามัวแต่เก็บไว้ไม่กล้าบอกคุณครูอย่างนี้ เราอาจจะเป็นไข้หนักถึงเวลานั้น เราอาจจะพานักเรียนไปหาหมอ หรือว่าคุณหมออาจจะช่วยไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าใครไม่สบาย ตัวร้อน หรือว่าไออย่างนี้ ต้องรีบบอกคุณครูนะคะ เพราะว่าเราน่ะ เป็นนักเรียนประจำอยู่หอนอน เราจะต้องรีบแจ้งคุณครูนะคะ โอเค วันนี้เราจะมาเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศนะคะ ตามเอกสารที่คุณครูได้แจกให้นักเรียนไปแล้ว ใครจะดูในนั้นแล้วก็ที่หน้าจอทีวีก็มีนะคะ เราจะได้ดูพี่ล่ามด้วย ในการเรียนนะคะ ทีนี้ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งเปลี่ยน... ทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเกิดขึ้นจากมนุษย์นะคะ จากการกระทำของมนุษย์ อันที่ 2 การเปลี่ยนแปลงแทนที่ เป็นการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางกายภาพ และทางชีวภาพ ส่งผลให้ระบบนิเวศเปลี่ยนไปสู่สมดุลจนเกิดสังคมที่สมบูรณ์นะคะ แล้วก็อันสุดท้ายการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบในระบบนิเวศ ทั้งทางกายภาพและทางชีวภาพ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรนะคะ อันดับต่อไป เราจะมาดูกันว่าในระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตอย่างเป็นลำดับขั้น เราเรียกว่า "การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ" โดยจะมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ เริ่มจากบริเวณที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อน จนกลายเป็นสังคมสมบูรณ์ที่มีความสมดุลทางธรรมชาติ โดยจะเริ่มจากพวกไลเคน พวกมอส พวกหญ้าต้นเล็ก ๆ น่ะค่ะ ไม้ล้มลุกหรือว่าไม้ยืนต้นแล้วก็และสังคมพืชตามลำดับไล่เรียงกันมานะคะ ข้อที่ 2 การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แต่พื้นที่ถูกทำลายจนกลายเป็นสังคมสมบูรณ์ โดยเริ่มจากหญ้าไม้ล้มลุก ไม้ยืนต้น แล้วก็สังคมพืชตามลำดับ ข้อนี้ทุติยภูมิ ก็อย่างเช่นป่าไม้ถูกไฟป่าไฟป่านี่เผา เสร็จแล้วต้นไม้ต้นหญ้าบางต้นมันอาจจะไม่ได้ตายทั้งหมดนะคะ เพราะมันได้น้ำได้ฝน ขึ้นมาปุ๊บมันก็จะมีต้นไม้ต้นเล็ก ๆ เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ เริ่มเกิดการมีต้นไม้มีต้นหญ้ามีสัตว์ต่าง ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ แบบนี้จะเรียกว่า "แบบทุติยภูมิ" เดี๋ยวคุณครูจะเปิดรูปให้ดู อันนี้คือแบบที่ 1 อันนี้คือแบบที่ 1 ที่เราเล่าไปก่อนแล้ว คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ แบบปฐมภูมิอันแรกมันก็จะมีเริ่มจากก้อนหินใช่ไหม มีก้อนหินมีดินเฉย ๆ แล้วก็มีพวกมอสส์ พวกหญ้าพวกอะไรนี่ เห็นไหมไอ้เขียว ๆ ข้างล่างนี่ใครเคยจัดสวนถาด ใครเคยจัดสวนถาดบ้าง เห็นไหม หญ้าอันเขียวอันเล็ก ๆ น่ะ มอสน่ะ เราจะเห็นแถวโรงเรียนเราก็มีเวลาเราเดินไปสังเกตตามพื้นถนนหรือตามใต้ร่มไม้ หรือว่าตามพวกโขดหินนะคะ ที่มันโดนน้ำโดนฝน แล้วมันก็จะมีต้นมอสส์สีเขียว ๆ เล็ก ๆ ใช่ ลักษณะแบบนั้นนะคะ แล้วก็จะมีต้นหญ้า มีไม้ยืนต้นพวกนี้ เขาจะเรียกว่า "แบบปฐมภูมิ" คือเริ่มจากไม่มีอะไรเลย จนกลายมามีต้นไม้ มีสัตว์ มีอะไรต่าง ๆ เพิ่มเข้ามาสังคมของพืชพวกนี้นะคะ ต่อไปการเปลี่ยนแปลงแบบแทนที่แบบทุติยภูมิแบบที่ 2 ที่เล่าไป เกิดจากการป่าเผาไหม้ของไฟป่า ไม่ว่าจะเป็นคนเผาหรือว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นเอง เห็นไหมคะ รูปไฟไหม้ต้นไม้ แต่ว่ามันก็ไม่ได้ไม่ทั้งหมดใช่ไหม มันอาจจะเหลือต้นเล็ก ๆ ต้นหญ้าอะไรต่าง ๆ อยู่ พอหลังจากที่มันได้น้ำฝนได้อะไรต่าง ๆ เสร็จแล้ว มันก็จะมีต้นไม้ใหญ่ ๆ พวกนี้ เพิ่มขึ้นมา ต้นเล็ก ต้นใหญ่ เมื่อบริเวณนั้นอุดมสมบูรณ์มีต้นไม้มีอะไรต่าง ๆ สัตว์ก็เริ่มจะย้ายเข้ามาอยู่ใช่ไหมคะ แล้วจะเห็นว่าตามบ้านเราก็เหมือนกัน บ้านใครที่ปลูกต้นไม้ที่เป็นพวกต้นตะขบ หรือว่าต้นไม้ที่เป็นไม้ที่กินได้ เราจะเห็นว่าจะมีนก มีนก มีกระรอก มีสัตว์เล็กสัตว์น้อย ที่จะมาอยู่ แล้วก็มากินอาหารตรงนั้น อย่างบ้านคุณครูน่ะ เคยมีต้นตะขบอยู่ข้างบ้าน เสร็จแล้วก็ไม่รู้หรอกว่าตอนแรก ๆ มันก็ไม่มีนก ไม่มีอะไร แต่พอต้นไม้นั้นน่ะ มันมีลูกออกลูกมามีผลใครรู้จักต้นตะขบ รู้จักไหม ที่เป็นลูกสีแดง ๆ รู้ไหม อายรู้ น้องอายรู้นะคะ เพราะหลังจากนั้นปุ๊บ คุณครูมาสังเกตดูว่าตอนเช้านี่จะมีนก นกตัวเล็ก ๆ น่าจะมีหลายพันธุ์เลยล่ะ เพราะว่าแต่ละตัวที่บินมาเกาะบินมากินน่ะบินมากินผลไม้น่ะมันจะสีที่แตกต่างกันออกไปบางตัวตรงท้องตรงขนมันจะเป็นสีแดง บางตัวน่ะ ก็จะมีสีเขียวอย่างนี้ สีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปนะคะ ทำให้เราได้รู้ว่าบริเวณไหน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ใบหญ้า ก็จะมีสัตว์ต่าง ๆ เข้ามาอาศัยอยู่นะคะ ทีนี้เดี๋ยวคุณครูจะมีใบงาน แต่ก่อนอื่นถามก่อน 2 ข้อเมื่อกี้ที่เล่าให้ฟังนะคะ ระบบนิเวศที่มีการเปลี่ยนแปลงนี่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่สำคัญนี่ ของระบบนิเวศแบ่งออกเป็น 2 ประเภทนี่ มีใครไม่เข้าใจตรงไหนไหม แบบที่ 1 แบบปฐมภูมิ แบบปฐมภูมิเกิดอย่างไรน้องอาย แบบปฐมภูมิเกิดจากที่ไม่มีอะไรเลย เช่น เริ่มต้นจากก้อนหิน นี่ไง นี่ไง ก้อนหินเดี๋ยวนะ เดี๋ยวจะเปิดหน้านี้ให้ดู นี่ไง อันนี้คือแบบปฐมภูมินะคะ จากที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต จนเพิ่มขึ้นมามีสิ่งมีชีวิต มีต้นไม้มีพืชต่าง ๆ นะคะ อันนี้คือแบบที่ 1 ส่วนอันที่ 2 เปลี่ยนแปลงแบบทุติยภูมิ เกิดจากการถูกทำลาย หรือว่าเคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่ถูกไฟไหม้ไปแล้ว แต่เวลาเปลี่ยนไปทำให้มีต้นไม้ใบหญ้าขึ้นมา นี่คือแบบที่ 2 นะคะ โอเคไหม เดี๋ยวคุณครูจะแจกใบงานให้ก่อน จะได้ทดสอบว่าใครเข้าใจมากน้อยแค่ไหนนะคะ ถ้าไม่เข้าใจก็สอบถามได้เลย ค่ะ นักเรียนได้ใบงานแล้วนักเรียนดูนะคะ จากภาพที่ 1 ภาพที่ 1 นักเรียนคิดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไหนคะ ภาพที่ 1 เห็นไหม นักเรียนจะเห็นว่ามีต้นหญ้าต้นเล็ก ๆ เกิดขึ้น แล้วก็มีซากต้นไม้ใช่ไหม เหมือนกับถูกเผา ใช่ มันเกิดขึ้นแบบไหน แบบปฐมภูมิ หรือแบบทุติยภูมิ แบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 แบบไหน แบบที่ไหนคะ แบบที่ 1 หรือ 2 เกิดไฟไหม้ น้องอายแบบไหนลูก น้องอายแบบที่ 2 ถูกต้อง แล้วอันข้างล่างล่ะคะ ภาพที่ 2 ภาพที่ 2 เป็นแบบปฐมภูมิ คือ ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อนใช่ไหม ไม่เคยมีมาก่อน แล้วมันก็ค่อย ๆ เริ่มมี พอโดนน้ำโดนฝนอะไรต่าง ๆ มันก็ค่อยจะเริ่มมีสิ่งมีชีวิตนะคะ ตามที่มีในใบความรู้ แล้วก็ที่คุณครูได้เล่าไปเมื่อกี้นะคะ โอเค ลงมือทำได้ค่ะ โอเคค่ะ นักเรียนทำเสร็จกันแล้วนะคะ ทีนี้ จากที่คุณครูได้ดูนะคะ แล้วก็จะได้เดินดูที่นักเรียนทำ ส่วนใหญ่ก็ทำถูกต้องนะคะ ทีนี้นักเรียนเปิดใบงานไปข้างหลังค่ะ มันจะมีอีกตัวหนึ่ง เห็นไหมคะ ข้างหลังจะเป็นเรื่อง สายใยอาหารนะคะ เป็นเรื่องสายใยอาหาร เดี๋ยวนะ นักเรียนมาดูนะคะ ของนักเรียนกับของครูจะเหมือนกันนะคะ ทีนี้จากสัปดาห์ก่อนที่เราเคยเรียนไปเราจะเรียนเกี่ยวกับโซ่อาหาร ซึ่งโซ่อาหารที่นักเรียนได้ทำไปแล้ว มันจะเป็นการกินต่อกันเป็นทอด ๆ จะมีแค่อันเดียว อย่างเช่นสมมุตินักเรียนดูในไปงานก็ได้ สมมุติว่าหญ้าทะเลใช่ไหมคะ หญ้าทะเลหัวลูกศรชี้ไปที่กุ้ง แสดงว่ากุ้งกินหญ้าทะเลนะคะ เสร็จแล้วปลาก็กินกุ้ง นกกินปลา นั่นคือ 1 โซ่อาหาร แต่ถ้าโซ่อาหารหลาย ๆ โซ่รวมกัน เราจะเรียกว่า "สายใยอาหาร" เราจะเรียกว่า "สายใยอาหาร" นะคะ โอเค รูปที่โชว์บนสไลด์นี่ คือ สายใยอาหาร คุณครูจะให้นักเรียน แยกออกมาว่าสายใยอาหารตัวนี้ มีกี่โซ่อาหารนะคะ แยกออกมาเป็นโซ่อาหารที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ไปเรื่อย ๆ จนหมด ว่ามันสรุปสิ้นสุดที่โซ่อาหารที่เท่าไรนะคะ อย่างเช่นตัวอย่าง ตัวอย่างโซ่อาหารที่ 1 คือ หญ้าทะเล ถูกไหม หญ้าทะเล แล้วก็ไปที่กุ้ง เสร็จแล้วก็ต่อไปที่ปลา เสร็จแล้วก็ไปสิ้นสุดที่อะไร สิ้นสุดที่นกนะคะ นักเรียนจะได้ทำแบบนี้ ทีนี้มีใครอยากออกมาทำไหม เชิญค่ะ ทำให้เพื่อนดูลูก ทำครบเลยหรือ เดี๋ยวทุกคนจะได้ออกมาทำคนละ 1 ข้อนะคะ เตรียมดูได้เลยว่าตัวเองจะทำข้อไหน ไม่ให้ซ้ำกันกับเพื่อนนะคะ ฟ้าลดาจะเป็นอะไรลูก สาหร่าย โอเค ปรบมือให้เพื่อนหน่อย อันนี้จะเป็นสาหร่ายกบ แล้วก็นก ถูกต้องค่ะ คนต่อไป น้องอาย น้องอาย ของอายเป็นสาหร่าย แล้วก็เต่า โซ่อาหารสั้นมากที่เลือกมา คนละ 1 ข้อนะคะ โอคของน้องขิงจะเป็นสาหร่าย เป็นทาก เป็นกบ แล้วก็เป็นนก ถูกต้อง มาค่ะ หญ้าทะเล กุ้ง ปลา นก ซ้ำลูก เพื่อนไปแล้ว เอาใหม่ เอาใหม่ค่ะ โอเคเก่งมาก โซ่นี้ยาวมาก สาหร่าย แมงปอ กบ แล้วก็งูนะคะ ออกมาเลย ผู้ชายคนเดียวในห้องลูก หนึ่งเดียวในห้องมา มา ๆ เดี๋ยวคุณครูช่วยมา ไม่ต้องอายค่ะ อยู่หน้ากล้องนี่อาย ๆ นะ เรียนเสร็จแล้วอีกแบบเลยนะนี่ นี่ ๆ ทางนี้มีกับคุณครูลูก ข้อที่ 6 ข้อที่ 6 เขียนฝั่งนี้เลยค่ะ ผู้ชายคนเดียวออกมาเขียน ปากกาก็ไม่ออกเสียอย่างนั้น โอเค เธอเลือกได้เฉียบมาก หญ้าทะเล แล้วก็มาเต่าค่ะ แต่ถูกนะ ถูกของเขา หญ้าทะเลเสร็จแล้ว ก็มาเต่า เป็นโซ่อาหารที่สั้นมาก ที่เลือกมา เยี่ยมมากค่ะ ทีนี้เราได้ไปแล้ว 6 โซ่อาหารใช่ไหมคะ เราได้ไปแล้ว 6 โซ่อาหาร อีก 3 โซ่อาหารให้นักเรียนหาเองในนั้นนะคะ เพราะว่าทั้งหมดน่ะคุณครูทำเอาไว้ 8 อาหาร นักเรียนได้ไปแล้วบนกระดานที่ช่วยกันทำน่ะ 6 โซ่อาหาร อีก 3 นักเรียนหาเองค่ะ มาดูสิว่าที่หามา ที่ดูมาจะถูกต้องไหม โอเค ลงมือทำได้เลยค่ะ ค่ะ นักเรียน ทำเสร็จกันหมดแล้วนะคะ อันนี้ก็เสร็จแล้ว โอเค วันนี้เราก็ได้ทั้งทบทวนแล้วก็เรียนในหัวข้อใหม่ด้วย และนักเรียนก็ทำแบบฝึกหัด ตามที่คุณครูได้ดูนักเรียนหลายคนก็เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโซ่อาหาร สายใยอาหาร หรือเรื่องที่เราเรียนไปเป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศนะคะ จากที่ดูนักเรียนก็เข้าใจพอสมควรนะคะ ทีนี้นักเรียนคนไหนที่ยังไม่เสร็จ คุณครูก็จะให้นักเรียนทำต่อนะคะ ยังไม่เสร็จนี้ ก็มีอีกประมาณคน 2 คนค่ะ แต่ว่าเราที่ได้ที่เราได้เรียนไปแล้ว ก็สรุปร่วมกัน รวมทั้งนักเรียนได้ออกมาทำที่หน้าชั้นเรียนนะคะ ก็สามารถวัดได้ว่านักเรียนหลายคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้พอสมควร เดี๋ยววันนี้เราจะเรียนเรื่องนี้ไว้พอแค่นี้ก่อน ในสัปดาห์ต่อไปเราก็จะได้เรียนเรื่องต่อไปนะคะ วันนี้ก็ขอขอบคุณทีมงานและคณะพี่ล่ามค่ะ นักเรียนตัวแทนขอบคุณพี่ ๆ ทีมงานลูก ขอบคุณค่ะ [สิ้นสุดการถอดความ]