โอเคครับ ครับผม วันนี้คุณครูจะสอนเรื่องระดับของภาษานะครับ เดี๋ยวจะให้เดี๋ยวคุณครูจะสอนไปด้วยแล้วก็อธิบายความหมายของแต่ละกาฬสินธุ์ไปด้วยแล้วก็ให้นักเรียนจดลงในสมุดที่คุณครูแจกให้นะครับ อันแรกนะครับ ก่อนที่จะเรียนระดับของภาษา เรามารู้จักความหมายของภาษากันก่อนภาษานะครับ นอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ให้ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติแล้วนะครับ ยังใช้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์นะครับ มนุษย์ใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน โอกาส กาละเทศะ และบุคคล ภาษาจึงมีลักษณะแตกต่างกัน เป็นหลายระดับนะครับ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผล สมความมุ่งหมายนะครับ ต่อไปนะครับ เราจะมาดูระดับของภาษากัน ระดับของภาษานะครับ คือ รูปแบบการใช้ภาษาที่มีความลดหลั่น ของถ้อยคำนะครับ ตามโอกาส กาละเทศะ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การใช้คำสรรพนาม ว่า ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้า กระผม ดิฉัน ผม ฉัน หนู ข้า คำที่ใช้แทนตัวผู้พูดเหล่านี้นะครับ แสดงถึงระดับ ภาษานะครับ ว่ามีความแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นภาษาที่เป็นบุคคลเดียวกันนะครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ใช้ภาษานั้นจะเป็นบุคคลเดียวกัน ประมาณนั้นนะครับ เดี๋ยวให้นักเรียนจดลงในสมุดเลยนะครับ เขียนลงในสมุดที่คุณครูแจกให้เลยนะ โอเคนะครับ ระดับภาษานะครับ คุณครูก็ได้อธิบายความหมายครั้งแรกไปแล้วนะครับ เดี๋ยวคุณครูจะอธิบายให้ฟังอีกครั้งหนึ่งนะ เพื่อที่นักเรียนจะได้เข้าใจด้วยนะครับ ระดับภาษานะครับ อ๋อ ตอนนี้สัญญาณพี่ล่ามช้าครับ นักเรียน นักเรียนดูไม่ได้ สัญญาณน่าจะช้าครับ ยังกระตุกอยู่เลยครับ เดี๋ยวนะครับ โอเคแล้วครับ โอเคนะครับ ครับผม ระดับระดับภาษานะครับ ก็คือรูปแบบการใช้ภาษาที่มีความลดหลั่นของถ้อยคำนะครับ ตามโอกาส กาลเทศะ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนะครับ เช่น การใช้ถ้อยคำ การใช้คำสรรพนามที่ว่าข้าพเจ้า ข้าพเจ้า ข้าพุทธเจ้า กระผม ดิ ฉัน หนู ข้า ผมฉันหนูค่าคำที่ใช้แทนผู้พูดเหล่านี้นะครับ แสดงถึงระดับของภาษาว่ามีความแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าผู้ใช้ภาษาจะเป็นบุคคลเดียวกันก็ตามนะครับ ยกตัวอย่างเช่นนะคะ ถ้าสมมติว่าคุณครูเองจะไปสนทนากับพระสงฆ์ คุณครูก็ต้องใช้คำที่ เหมาะกับพระสงฆ์อีกระดับหนึ่งใช่ไหมครับ แล้วบอกว่าพระสงฆ์กินข้าวหรือยัง อย่างนี้ได้ไหมครับ ไม่ได้นะครับ ต้องใช้คำว่าฉันท์ข้าวหรือยังนะครับ ต่อไปนะครับ การแบ่งระดับของภาษานะ การแบ่งระดับของภาษาภาษาไทยมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษานะครับ ต้องเปลี่ยนระดับภาษาให้เหมาะสมกับกาละเทศะ และบุคคล เพื่อใช้ภาษาต่างเวลา ต่างสถานที่ และต่างคณะบุคคลกัน ต้องเลือกสรรใช้ถ้อยคำต่าง ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่ต้องการให้มีความหมายอย่างเดียวกัน ภาษา อาจแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ได้หลายระดับนะครับ เดี๋ยวเราไปดูว่าจะแบ่งเป็นกี่ระดับ เดี๋ยวตอนนี้ให้นักเรียนจดลงในสมุดก่อนนะครับ โอเคนะครับ การแบ่งระดับของภาษานะครับ เดี๋ยวเรามาดูว่ามันจะมีกี่รูปแบบนะครับ การแบ่งระดับของภาษานะคะ ข้อที่ 1 ก็คือแบ่งตามโอกาสความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็น 2 ระดับนะครับ 1. ก็คือระดับที่เป็นทางการหรือเป็นแบบแผน 2. ระดับที่ไม่เป็นทางการหรือไม่เป็นแบบแผนนะครับ ให้นักเรียนเขียนลงสมุดเลยนะครับ เพราะว่าทำไมคุณครูถึงให้นักเรียนเขียน เมื่อกี้กูก็อธิบายให้กับนักเรียน 4/1 ฟังแล้วนะครับ ก็คือสมมตินักเรียนไปอยู่ที่อื่นนะครับ นักเรียนจะต้องมีการเขียนสื่อสารกับบุคคลที่เขาไม่รู้จักภาษามือด้วยนะครับ จะได้เขียนเป็นด้วย ฝึกเขียน ถ้านักเรียนไม่เข้าใจอันไหนนะครับ นักเรียนจะต้องถามคุณครูครับผม นักเรียนเขียนลงสมุดเลยนะครับ โอเคครับ เป็นอย่างไรบ้างครับ เสร็จหรือยัง ยังเหลือบางคนที่ยังไม่เสร็จนะครับ เหลืออีกเยอะไหมครับ อีกเยอะไหม ต่อไปนะครับ ข้อที่ 2 นะครับ แบ่งตามโอกาสนะครับ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็น 3 ระดับ ก็จะมีระดับพิธีการ ระดับกึ่งพิธีการระดับไม่เป็นพิธีการนะครับ นักเรียนเขียนลงไปในสมุดเลยนะครับ ครับผม ต่อไปนะครับ แบ่งตามกาละเทศะนะครับ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนะครับ เป็น 5 ระดับ ก็คือระดับพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับไม่เป็นทางการ และระดับกันเองนะครับ นักเรียนค่อย ๆ เขียนลงในสมุดนะ ให้อ่านออกนะครับ เดี๋ยวคุณครูจะให้นักเรียนอ่านทบทวนอีกนะครับ นะครับ เมื่อทราบแล้วนะครับ ว่าภาษาสามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ระดับ เพื่อให้สามารถควบคุมระดับภาษามากที่สุดนะครับ เดี๋ยวจะขออธิบายระดับภาษาที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับนะครับ คือ 1. ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับกึ่งทางการ และ 4. ภาษาระดับทางการระดับ หรือระดับสนทนานะครับ ข้อที่ 5 ก็คือภาษาระดับกันเองนะครับ หรือระดับภาษาปากนะครับ เดี๋ยวให้นักเรียนจดลงในสมุดนะครับ แล้วจดเสร็จปุ๊บเราก็จะมาดูว่าภาษาระดับพิธีการความหมายมันคืออะไรนะครับ โอเคนะครับ ต่อไปนะครับ เรามารู้ความหมายของภาษาระดับพิธีการนะครับ ว่าคืออะไรนะครับ ภาษาระดับพิธีการนะครับ ภาษาระดับนี้นะครับ ใช้โอกาสสำคัญ หรือประชุมแบบพิธีการ ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสำคัญ หรือผู้มีตำแหน่งสูงนะครับ ผู้รับสารอาจจะเป็นบุคคลระดับเดียวกัน หรือประชาชนทั้งประเทศ ภาษาระดับนี้ เป็นภาษาที่มีความประณีตไปครับ ไพเราะ มีความอลังการ การเลือกเฟ้นหาถ้อยคำมักก่อให้เกิดความจรรโลงใจ เช่น การกล่าวเปิดประชุม การกล่าวถวายราชสดุดี นะครับ การกล่าวปราศรัยนะครับ ครับผม เดี๋ยวให้นักเรียนเขียนถึงภาษาระดับพิธีการถึงตรงนี้นะครับ เดี๋ยว เดี๋ยวก็จะถึงเวลากินข้าวแล้ว สุดท้ายแล้วนะครับผม วันนี้เรามารู้จักความหมายของภาษาระดับพิธีการไปก่อน เดี๋ยวชั่วโมงหน้าเราจะมารู้ความหมายของอื่น ๆ นะครับ โอเคครับ ครับ เดี๋ยวเราจะค้างไว้ตรงที่ภาษาระดับพิธีการก่อนนะ เราจะเข้าไปตรงนี้ก่อนแล้วก็เดี๋ยวจะให้นักเรียนไปกินข้าวแล้วนะครับ เพราะว่าถึงเวลากินข้าวก่อนนักเรียนแล้วขอบคุณพี่ล่ามนะครับ ครับ สวัสดีนักเรียนครับ สวัสดีครับ วันนี้หมดเวลาแค่นี้ครับ [สิ้นสุดการถอดความ]