ตอนนี้นักเรียนกำลังเขียนชื่ออยู่ค่ะ เพราะว่า บางคนเขาเพิ่งจะได้สมุด โอเค โอเคค่ะนักเรียน เป็นอย่างไรบ้างวันนี้ อากาศเย็นสบาย อากาศเย็นสบาย เพราะว่าฝนตกใช่ไหม สัปดาห์ก่อน ๆ ที่เรามาเรียน มาเจอกันตอนนั้น อากาศร้อนมาก ทีนี้ ช่วงนี้เป็นฤดูฝนนะคะ คุณครูก็อยากให้นักเรียนดูแลสุขภาพ ดูแลสุขภาพตนเองนะคะ ระวังจะเป็นไข้ เป็นหวัด หรือว่าช่วงนี้มีฝนตกแล้ว ยุงก็เยอะนะคะ นักเรียนเห็นไหม ตอนกลางวันเสาร์อาทิตย์เมื่อกี้นี่ ยุงลายใช่ไหม กลางวันน่ะ ยุงลายมันจะออก ถ้าสมมติว่าเราเจอยุงลาย กัดเราบ่อย ๆ หรือว่ามาก ๆ อาจจะทำให้เราน่ะเป็นไข้เลือดออก ไข้เลือดออกน่ะ สามารถทำให้เราเสียชีวิตได้นะคะ ถ้าสมมติใครที่ไม่สบายนี่ ต้องรีบแจ้งคุณครูนะคะ ครูจะได้ให้ยา แล้วก็ถ้าไข้สูงมาก ๆ เราจะได้พบหมอที่โรงพยาบาล เพราะถ้าเรามัวแต่เก็บไว้ไม่กล้าบอกคุณครูอย่างนี้ เราอาจจะเป็นไข้หนัก ถึงเวลานั้นเราอาจจะพานักเรียนไปหาหมอ หรือว่าคุณหมออาจจะช่วยไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าใครไม่สบาย ตัวร้อน หรือว่าไปอย่างนี้ ต้องรีบบอกคุณครูนะคะ เพราะว่าเราน่ะเป็นนักเรียนประจำอยู่หอนอน เราจะต้องรีบแจ้งคุณครูนะคะ โอเค วันนี้เราจะมาเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ตามเอกสารที่คุณครูได้แจกให้นักเรียนไป แล้ว ใครจะดูในนั้น แล้วก็ที่หน้าจอทีวีก็มีนะคะ เราจะได้ดูพี่ล่ามด้วย ในการเรียนนะคะ ทีนี้การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาทั้ง ทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเกิดขึ้นจากมนุษย์ จากการกระทำของมนุษย์ อันที่ 2 การเปลี่ยนแปลงแทนที่ เป็นการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิต ที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางกายภาพ และทางชีวภาพ ส่งผลให้ระบบนิเวศเปลี่ยนไปสู่สมดุล จนเกิดสังคมที่สมบูรณ์นะคะ แล้วก็อันสุดท้าย การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบในระบบนิเวศ ทั้งทางกายภาพ และทางชีวภาพ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ขนาดของประชากรนะคะ อันดับต่อไป เราจะมาดูกันว่า ในระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิต อย่างเป็นลำดับขั้น เราเรียกว่า "การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ" โดยจะมีปัจจัยทางกายภาพ และชีวภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ เริ่มจากบริเวณที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อน จนกลายเป็นสังคมสมบูรณ์ ที่มีความสมดุลทางธรรมชาติ โดยจะเริ่มจากพวกไลเคน พวกมอส พวกหญ้าต้นเล็ก ๆ น่ะค่ะ ไม้ล้มลุก หรือว่าไม้ยืนต้น แล้วก็และสังคมพืช ตามลำดับไล่เรียงกันมานะคะ ข้อที่ 2 การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แต่พื้นที่ถูกทำลาย จนกลายเป็นสังคมสมบูรณ์ โดยเริ่มจากหญ้า ไม้ล้มลุก ไม้ยืนต้น แล้วก็สังคมพืชตามลำดับ ข้อนี้ทุติยภูมิก็อย่างเช่น ป่าไม้ถูกไฟป่า ไปป่าดิบเขา เสร็จแล้วต้นไม้ ต้นหญ้า บางต้นมันอาจจะไม่ได้ตายทั้งหมดนะคะ เพราะมันได้น้ำได้ฝนขึ้นมาปุ๊บ มันก็จะมีต้นไม้ต้นเล็ก ๆ เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ เริ่มเกิดการมีต้นไม้ มีต้นหญ้า มีสัตว์ต่าง ๆ เข้ามาอาศัยอยู่แบบนี้จะเรียกว่าแบบทุติยภูมิเดี๋ยวคุณครูจะเปิดรูปให้ดูอันนี้คือแบบที่ 1 อันนี้คือแบบที่ 1 ที่เราเล่าไปก่อนแล้ว คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ แบบปฐมภูมิ อันแรกมันก็จะมีเริ่มจากก้อนหินใช่ไหม มีก้อนหิน มีดินเฉย ๆ แล้วก็มีพวกมอส พวกหญ้า พวกอะไรเนี่ยเห็นไหมไอ้เขียว ๆ ข้างล่างนี่ใครเคยจัดสวนถาด ใครเคยจัดสวนถาดบ้าง เห็นไหมหญ้าอันเขียวอันเล็ก ๆ กับมอสน่ะ เราจะเห็นแถวโรงเรียนเราก็มีเวลาเราเดินไปตามพื้นถนน หรือตามใต้ร่มไม้ หรือว่าตามพวกขูดหินนะคะ ที่มันโดนน้ำโดนฝนแล้วมันก็จะมีต้นมอสสีเขียว ๆ เล็ก ๆ ใช่ ลักษณะแบบนั้นนะคะ แล้วก็จะมีต้นหญ้า มีไม้ยืนต้น พวกนี้เขาจะเรียกว่า "แบบปฐมภูมิ" เริ่มจากไม่มีอะไรเลย จนกลายมามีต้นไม้ มีสัตว์มีอะไรบ้าง การเพิ่มเข้ามา ยังคงของพืชพวกนี้นะคะ ต่อไป การเปลี่ยนแปลงแบบแทนที่แบบทุติยภูมิ แบบที่ 2 ที่เล่าไป เกิดจากการป่าเผาไหม้ของไฟป่า ไม่ว่าจะเป็นคนเผาหรือว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นเอง เห็นไหมคะ รูปไฟไหม้ ต้นไม้แต่ว่ามันก็ไม่ได้ไม่ทั้งหมดใช่ไหม มันอาจจะเหลือต้นเล็ก ๆ ต้นหญ้าอะไรต่าง ๆ อยู่ เพราะหลังจากที่มันได้น้ำฝนได้อะไรต่าง ๆ เสร็จแล้วมันก็จะมีต้นไม้ใหญ่ ๆ พวกนี้เพิ่มขึ้นมา ต้นเล็กต้นใหญ่เมื่อบริเวณนั้นอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้มีอะไรต่าง ๆ สัตว์ก็เริ่มจะย้ายเข้ามาอยู่ ใช่ไหมคะ เราจะเห็นว่าตามบ้านเราก็เหมือนการบ้านใครที่ปลูกต้นไม้ที่เป็นพวก ต้นตะขบ หรือว่าต้นไม้ที่เป็นไม้ที่กินได้เราจะเห็นว่าจะมีนก มีนก มีกระรอก มีสัตว์เล็ก สัตว์น้อยที่จะมาอยู่ แล้วก็มากินอาหารตรงนั้น ถึงบ้านคุณครูน่ะ เคยมีต้นตะขบอยู่ข้างบ้าน เสร็จแล้วก็ไม่รู้หรอกว่าตอนแรก ๆ มันก็ไม่มีนกไ ม่มีอะไร แต่พอต้นไม้นั้นน่ะ มันมีลูกออก ลูกมามีผล ใครรู้จักต้นตะขบ รู้จักไหม เป็นลูกสีแดง ๆ รู้ไหม อายรู้ น้องอายรู้นะคะ เพราะหลังจากนั้นปุ๊บ คุณครูมาสังเกตดูว่าตอนเช้านี้จะมีนก นกตัวเล็ก ๆ มีน่าจะมีหลายพันธุ์เลย ล่ะเพราะว่าแต่ละตัวที่บินมาเกาะ บินมากินน่ะ บินมากินผลไม้น่ะ มันจะสีที่แตกต่างกันออกไป บางตัวตรงท้องตรงขนมันจะเป็นสีแดง บางตัวน่ะก็จะมีสีเขียว สีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปนะคะ ทำให้เราได้รู้ว่าบริเวณไหนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ใบหญ้า ก็จะมีสัตว์ต่าง ๆ เข้ามาอาศัยอยู่นะคะ ทีนี้ เดี๋ยวคุณครูจะมีใบงาน แต่ก่อนอื่นถามก่อน 2 ข้อ เมื่อกี้ที่เล่าให้ฟัง ระบบนิเวศที่มีการเปลี่ยนแปลง ของกลุ่มสิ่งมีชีวิต ที่สำคัญมีของระบบนิเวศแบ่งออกเป็น 2 ประเภทนี้ มีใครไม่เข้าใจตรงไหนไหม แบบที่ 1 แบบปฐมภูมิ แบบปฐมภูมิเกิดอย่างไไรน้องอาย แบบปฐมภูมิเกิดจากที่ไม่มีอะไรเลย อย่างเช่น เริ่มต้นจากก้อนหิน นี่ไง นี่ไง ก้อนหิน เดี๋ยวจะเปิดหน้านี้ให้ดู นี่ไง อันนี้คือแบบปฐมภูมินะคะ จากที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต จนเพิ่มขึ้นมามีสิ่งมีชีวิต มีต้นไม้ มีพืชต่าง ๆ อันนี้คือแบบที่ 1 ส่วนอันที่ 2 เปลี่ยนแปลงแบบทุติยภูมิ เกิดจากการถูกทำลาย หรือว่าเคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่ ถูกไฟไหม้ไปแล้ว แต่เวลาเปลี่ยนไป ทำให้มีต้นไม้ใบหญ้าขึ้นมา นี่แบบที่ 2 นะคะ โอเคไหม เดี๋ยวคุณครูจะแจกใบงานให้ก่อน จะได้ทดสอบว่าใครเข้าใจมากน้อยแค่ไหนนะ ถ้าไม่เข้าใจก็สอบถามได้เลย ค่ะ นักเรียนได้ใบงานแล้ว นักเรียนดูนะคะ จากภาพที่ 1 ภาพที่ 1 นักเรียนคิดว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไหนคะ ภาพที่ 1 เห็นไหม นักเรียนจะเห็นว่ามีต้นหญ้าต้นเล็ก ๆ เกิดขึ้น แล้วก็มีซากต้นไม้ใช่ไหม เหมือนกับถูกเผา มันเกิดขึ้นแบบไหน แบบปฐมภูมิ หรือแบบทุติยภูมิ แบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 แบบไหน แบบที่ไหนคะ แบบที่ 1 หรือ 2 เกิดไฟไหม้ น้องอายแบบไหนลูก น้องอายแบบที่ 2 ถูกต้องแล้ว อันข้างล่างล่ะคะ ภาพที่ 2 ภาพที่ 2 เป็นแบบปฐมภูมิ คือ ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อนใช่ไหม ไม่เคยมีมาก่อน แล้วมันก็ค่อย ๆ เริ่มมี พอโดนน้ำโดนฝนอะไรต่าง ๆ มันก็ค่อยจะเริ่มมีมีชีวิตนะคะ ตามที่มีในใบความรู้ แล้วก็ที่คุณครูได้เล่าไปเมื่อกี้นะคะ โอเคลงมือทำได้ค่ะ โอเคค่ะ นักเรียนทำเสร็จกันแล้วนะคะ ทีนี้อย่างที่คุณครูได้ดูนะคะ แล้วก็ที่ได้เดินดูที่นักเรียนทำ ส่วนใหญ่ก็ทำถูกต้องนะคะ ทีนี้นักเรียนเปิดใบงานไปข้างหลังค่ะ มันจะมีอีกตัวหนึ่ง ใช่ไหมคะ ข้างหลังจะเป็นเรื่อง สายใยอาหารนะคะ เรื่อง สายใยอาหารนักเรียนมาดูนะคะ ของนักเรียนกับของครู จะเหมือนกันนะคะ ทีนี้จ ากสัปดาห์ก่อน ที่เราเคยเรียนไปเราจะเรียนไป เกี่ยวกับอาหารโซ่อาหาร ที่นักเรียนได้ทำไปแล้ว มันจะเป็นการกินต่อกันเป็นทอด ๆ จะมีแค่อันเดียว อย่างเช่น สมมตินักเรียนดูในใบงานก็ได้ สมมติว่าหญ้าทะเลใช่ไหมคะ หญ้าทะเล หัวลูกศรชี้ไปที่กุ้ง แสดงว่ากุ้งกินหญ้าทะเล เสร็จแล้วปลาก็กินกุ้ง นกกินปลา นั่นคือ 1 โซ่อาหาร แต่ถ้าโซ่อาหารหลาย ๆ โซ่รวมกัน เราจะเรียกว่า "สายใยอาหาร" เดี๋ยวคุณครูเขียนในกระดานให้ จะเรียกว่า "สายใยอาหาร" นะคะ รูปที่โชว์บนสไลด์ นี่คือ สายใยอาหาร คุณครูจะให้นักเรียนแยกออกมาว่า สายใยอาหารตัวนี้ มีกี่โซ่อาหารนะคะ แยกออกมาเป็นโซ่อาหารที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ไปเรื่อย ๆ จนหมดว่า มันสรุปสิ้นสุดที่โต๊ะอาหารที่เท่าไรนะคะ อย่างเช่น ตัวอย่าง ตัวอย่างอาหารที่ 1 คือ หญ้าทะเล ถูกไหม หญ้าทะเลแล้วก็ไปที่กุ้ง เสร็จแล้วก็ต่อไปที่ปลา เสร็จแล้วก็ไปสิ้นสุดที่อะไร สิ้นสุดที่นกนะคะ นักเรียนจะได้ทำแบบนี้ ทีนี้มีใครอยากออกมาทำไหม เชิญค่ะ มาทำให้เพื่อนดูลูก ทำครบเลยเหรอ เดี๋ยวทุกคนจะได้ออกมาทำคนละ 1 ข้อนะคะ เตรียมดูได้เลยว่า ตัวเองจะทำข้อไหน ไม่ให้ซ้ำกันกับเพื่อนนะคะ ของฟ้าลดาจะเป็นอะไรลูก สาหร่าย โอเค ปรบมือให้เพื่อนหน่อย อันนี้จะเป็นสาหร่าย ทาก กบ แล้วก็นก ถูกต้องค่ะ คนต่อไป น้องอาย ๆ ของอายเป็นสาหร่าย แล้วก็เต่า โซ่อาหารสั้นมากที่เลือกมา คนละ 1 ข้อนะคะ โอเค ของน้องขิงจะเป็นสาหร่าย เป็นทาก เป็นกบ แล้วก็เป็นนก ถูกต้องมาค่ะ หญ้าทะเล กุ้ง ปลา นก ซ้ำลูก ซ้ำกับเพื่อนไปแล้ว เอาใหม่เอาเข้าใหม่ค่ะ โอเค เก่งมาก โซ่นี้ยาวมาก สาหร่าย แมงปอ จบแล้วก็งงนะคะ ออกมาเลย ผู้ชายคนเดียวในห้องลูก หนึ่งเดียวในห้อง มา มา ๆ เดี๋ยวคุณครูช่วยมา ไม่ต้องอายค่ะ อยู่หน้ากล้องนี่ อาย ๆ ๆ นะ เรียนเสร็จแล้วอีกแบบเลยนะ นี่ นี่ ทางนี้ มีค่ะ คุณครูมีลูกข้อที่ 6 ข้อที่ 6 เขียนฝั่งนี้เลยค่ะ เอาสีแดงก็ได้ ผู้ชายคนเดียวมาเขียน ปากกาก็ไม่ออกซะงั้น โอเค เธอเลือกได้เฉียบมาก หญ้าทะเล แล้วก็มาเต่าค่ะ แต่ถูกนะ ถูกของเขานะ หญ้าทะเล เสร็จแล้วก็มาเต่า โซ่อาหารที่สั้นมาก ที่เลือกมา เยี่ยมมากค่ะ ทีนี้เราได้ไปแล้ว 6 โซ่อาหารใช่ไหมคะ จะได้ไปแล้ว 6 โซ่อาหาร 3 โซ่อาหารให้นักเรียนหาเองในนั้นนะคะ ว่าทั้งหมดน่ะคุณครูทำเอาไว้ 80 อาหาร นักเรียนได้ไปแล้วบนกระดานที่ช่วยกันทำน่ะ 6 โซ่อาหารอีก 3 นักเรียนหาเองค่ะ มาดูซิว่าที่หามา ที่ดูมาจะถูกต้องไหม โอเค ลงมือทำได้เลยค่ะ ค่ะ นักเรียน ทำเสร็จกันหมดแล้วนะคะ อันนี้ก็เสร็จแล้ว โอเค วันนี้เราก็ได้ทั้งทบทวน แล้วก็เรียนในหัวข้อใหม่ด้วยนะ นักเรียนก็ทำแบบฝึกหัดตามที่คุณครู ได้ดูนักเรียนหลายคนก็เข้าใจ เกี่ยวกับเรื่อง โซ่อาหารสายใย อาหาร หรือเรื่องที่เราเรียนไป เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศน์ จากที่ดูนักเรียนก็เข้าใจพอสมควรนะคะ ทีนี้นักเรียนคนไหนที่ยังไม่เสร็จ คุณครูก็จะให้นักเรียนทำต่อนะคะ ยังไม่เสร็จนี้ ก็มีอีกประมาณ คน 2 คนค่ะ แต่ว่าเราที่ได้ที่เราได้เรียนไป แล้วก็สรุปรวมกัน รวมทั้งนักเรียนได้ออกมาทำที่หน้าชั้นเรียนนะคะ ก็สามารถวัดได้ว่านักเรียนหลายคนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้พอสมควร เดี๋ยววันนี้เราจะเรียนเรื่องนี้ไว้พอแค่นี้ก่อน ในสัปดาห์ต่อไปเราก็จะได้เรียนเรื่องต่อไปนะคะ วันนี้ก็ขอขอบคุณทีมงาน และคณะพี่ล่ามค่ะ นักเรียนตัวแทนขอบคุณพี่ ๆ ทีมงานลูก ขอบคุณค่ะ